แรงจูงใจ
Motive/ Motivation/
ความหมายของแรงจูงใจและการจูงใจ (Definition of motive and motivation)
แรงจูงใจ คือพลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรม และยังกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมนั้นด้วย คนที่มีแรงจูงใจสูง จะใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ แต่คนที่มีแรงจูงใจต่ำ จะไม่แสดงพฤติกรรม หรือไม่ก็ล้มเลิก การกระทำ ก่อนบรรลุเป้าหมาย
แรงจูงใจ (Motive) เป็นคำที่ได้ความหมายมาจากคำภาษาละตินที่ว่า movere ซึ่งหมายถึง "เคลื่อนไหว (move) " ดังนั้น คำว่าแรงจูงใจจึงมีการให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
1.แรงจูงใจ หมายถึง "บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทำให้บุคคลต้องกระทำ หรือเคลื่อนไหว หรือมี พฤติกรรม ในลักษณะที่มีเป้าหมาย" กล่าวตรงๆ ก็คือ แรงจูงใจเป็นเหตุผล ของการกระทำ นั่นเอง
2. แรงจูงใจ หมายถึง "สภาวะที่อยู่ภายในตัวที่เป็นพลัง ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางที่มีเป้าหมาย ที่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายที่มีอยู่นภาวะสิ่งแวดล้อม"
3. จากความหมายนี้จะเห็นได้ว่า แรงจูงใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ
(1) เป็นกลไกที่ไปกระตุ้นพลังของร่างกายให้เกิดการกระทำ
(2) เป็นแรงบังคับให้กับพลังของร่างกายที่จะกระทำอย่างมีทิศทาง
ส่วนการจูงใจ (Motivation) เป็นเงื่อนไขของการได้รับการกระตุ้นอาจมีความหมาย ดังนี้
1. การจูงใจ หมายถึง "แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายในของบุคคลที่กระตุ้นให้บุคคลมีการกระทำ"
2. การ จูงใจ เป็นภาวะภายใน ของบุคคล ที่ถูกกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรมอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง
3. การจูงใจเป็นภาวะในการ เพิ่มพฤติกรรม การกระทำหรือกิจกรรมของบุคคล โดยบุคคลจงใจ กระทำพฤติกรรม นั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ ต้องการ
จาก คำอธิบายและความหมายดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า การจูงใจ เป็นกระบวนการที่บุคคลถูก กระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจ ให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมที่เกิดจาก การจูงใจ เป็น พฤติกรรม ที่มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดา แต่ ต้องเป็นพฤติกรรมที่มีความเข้มข้น มีทิศทางจริงจัง มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการไปสู่จุดใด และ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เป็นผลสืบเนื่องมาจาก แรงผลักดัน หรือ แรงกระตุ้น ที่เรียกว่า แรงจูงใจ ด้วย
การจูงใจเป็นกระบวนที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายอยู่ในสภาวะเกิดความไม่สมดุล ทำให้เกิดแรงขับ (Drive) ที่กำหนดทิศทาง เพื่อแสงพฤติกรรม และการกระทำไปสู่เป้าหมาย ที่จะตอบสนองต่อความต้องการเหล่านั้น เมื่อได้รับการตอบสนองแรงขับก็จะลดลงและเกิดความพึงพอใจ หรือสรุปได้ว่า การจูงใจก็คือกระบวนการในการนำปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นแรงจูงใจมาเป็นตัวกระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกอย่างมี ทิศทาง ปัจจัยที่นำมากระตุ้นอาจเป็นสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่มาเร้า ล่อ จูงใจหรือผลักดันให้บุคคลเกิดความต้องการ
ความสำคัญของการจูงใจ
การจูง ใจมีอิทธิผลต่อผลผลิต ผลิตผลของงานจะมีคุณภาพดี มีปริมาณมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ การจูงใจในการทำงาน ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานจึงจำเป็นต้องเข้าใจว่าอะไร คือแรงจูงใจที่จะทำให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ และไม่ใช่เรื่องง่ายในการจูงใจพนักงาน เพราะ พนักงานตอบสนองต่องานและวิธีทำงานขององค์กรแตกต่างกัน การจูงใจพนักงานจึงมี ความสำคัญ สามารถสรุปความสำคัญของการจูงใจในการทำงานได้ดังนี้
1. พลัง (Energy) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการกระทำ หรือ พฤติกรรมของมนุษย์ ในการทำงานใดๆ ถ้าบุคคลมี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง ย่อมทำให้ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น กระทำให้สำเร็จ ซึ่งตรงกันข้ามกับ บุคคลที่ทำงานประเภท “เช้าชาม เย็นชาม” ที่ทำงานเพียงเพื่อให้ผ่านไปวันๆ
2. ความพยายาม (Persistence) ทำให้บุคคลมีความมานะ อดทน บากบั่น คิดหาวิธีการนำความรู้ความสามารถ และ ประสบการณ์ของตน มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานให้มากที่สุด ไม่ท้อถอยหรือละความพยายามง่ายๆ แม้งาน จะมีอุปสรรคขัดขวาง และเมื่องานได้รับผลสำเร็จ ด้วยดีก็มักคิดหา วิธีการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
3. การเปลี่ยนแปลง (Variability) รูปแบบการทำงานหรือวิธีทำงานในบางครั้ง ก่อให้เกิดการค้นพบช่องทาง ดำเนินงาน ที่ดีกว่า หรือประสบ ผลสำเร็จมากกว่า นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องหมายของ ความเจริญ ก้าวหน้า ของบุคคล แสดงให้เห็นว่า บุคคลกำลังแสวงหาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิต บุคคลที่มี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง เมื่อดิ้นรน เพื่อจะบรรลุ วัตถุประสงค์ใดๆ หากไม่สำเร็จบุคคล ก็มักพยายามค้นหา สิ่งผิดพลาด และพยายามแก้ไข ให้ดีขึ้นในทุก วิถีทาง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานจน ในที่สุดทำให้ค้นพบแนวทาง ที่เหมาะสมซึ่ง อาจจะต่างไป จากแนวเดิม
4. บุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงาน จะเป็นบุคคลที่มุ่งมั่นทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และการมุ่งมั่นทำงานที่ตนรับผิดชอบ ให้เจริญก้าวหน้า จัดว่าบุคคลผู้นั้นมี จรรยาบรรณในการทำงาน (work ethics) ผู้มีจรรยาบรรณในการทำงาน จะเป็นบุคคล ที่มีความรับผิดชอบ มั่นคงในหน้าที่ มีวินัยในการทำงาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ ผู้มีลักษณะ ดังกล่าวนี้ มักไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดและทำในสิ่งที่ไม่ดี
ลักษณะของแรงจูงใจ
แรงจูงใจของมนุษย์มีมากมายหลายอย่าง เราถูกจูงใจให้มีการกระทำหรือพฤติกรรม หลายรูปแบบ เพื่อหาน้ำและ อาหารมาดื่มกิน สนองความต้องการทางกาย แต่ยังมีความต้องการมากกว่านั้น เช่น ต้องการความสำเร็จ ต้องการเงิน คำชมเชย อำนาจ และในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม คนยังต้องการมีอารมณ์ผูกพันและอยู่รวมกลุ่มกับผู้อื่น แรงจูงใจ จึงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
แรงจูงใจภายใน (Intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร เช่น คนงานที่เห็นคุณค่าของงาน มองว่าองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัว เขาก็จะจงรักภักดีต่อองค์การ กระทำ การต่างๆ ให้องค์การเจริญก้าวหน้า หรือในกรณีที่บ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาของเศรษฐกิจขาลง องค์การจำนวนมากอยู่ในภาวะขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทน แต่ด้วยความผูกพัน เห็นใจกันและกัน ทั้งเจ้าของกิจการ และพนักงานต่างร่วมกันค้าขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ ทั้งประเภทแซนวิช ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ เพียงเพื่อ ให้มีรายได้ ประทังกันไปทั้งผู้บริหารและลูกน้อง และในภาวะดังกล่าวนี้จะเห็นว่า พนักงานหลายราย ที่ไม่ทิ้งเจ้านาย ทั้งเต็มใจไปทำงานวันหยุดโดยไม่มีค่าตอบแทน ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นไปโดย เนื่องจากความรู้สึก หรือเจตคติที่ดีต่อเจ้าของกิจการ หรือด้วยความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งขององค์การ มิใช่เพราะ เกรงจะถูกไล่ออกหรือไม่มีที่ไป ก็กล่าวได้ว่า เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน
แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motives)
แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คำชม การได้รับการยอมรับยกย่อง ฯลฯ แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวรต่อพฤติกรรม บุคคลจะ แสดงพฤติกรรม เพื่อ ตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าว เฉพาะในกรณีที่ต้องการรางวัล ต้องการเกียรติ ชื่อเสียง คำชม การยกย่อง การได้รับ การยอมรับ ฯลฯ ตัวอย่างแรงจูงใจภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เช่น การที่คนงาน ทำงานเพียง เพื่อแลกกับ ค่าตอบแทน หรือเงินเดือน การแสดงความขยันตั้งใจทำงานเพียง เพื่อให้หัวหน้างานมองเห็นแล้ว ได้ความดีความชอบ เป็นต้น
http://www.novabizz.com/NovaAce/Motives.htm
“การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้”
แรงจูงใจ (Motivation) คือ แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายในตัวบุคคล ที่จะกระตุ้นให้บุคคลนั้นเกิดการกระทำ แรงขับดังกล่าวเกิดจากความต้องการพื้นฐาน (Needs) แรงผลัก/พลังกดดัน (Drives) หรือความปรารถนา (Desires) อันเนื่องมาจากสิ่งล่อใจ (Incentives) ความคาดหวัง (Expectancy) หรือการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ทำให้บุคคลพยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งแรงจูงใจอาจจะเกิดมาตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ได้
นักจิตวิทยา ได้แบ่งรูปแบบของแรงจูงใจทางสังคม เอาไว้หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive)
2. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive)
3. แรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motive)
4. แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว (Aggression Motive)
5. แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา (Dependency Motive)
พวกที่มีัแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง พวกนี้จะทะเยอทะยานสูง มุ่งหาความสำเร็จ และกลัวความล้มเหลว จะไม่ทำงานเพราะหวังรางวัล แต่ทำเพื่อจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ส่วนพวกที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์สูง พวกนี้จะโอบอ้อมอารี ต้องการการยอมรับจากกลุ่ม มีความเกรงใจสูง หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง คล้อยตามผู้อื่น และตั้งเป้าหมายต่ำ
ทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งเป็นแนวคิดของบรรดาผู้รู้ในวงการจิตวิทยา มีมากมายหลายทฤษฏี เอาพอสังเขปก็แล้วกันนะคะ ในฐานะที่ไม่ได้เรียนจิตวิทยามาโดยตรง
1. ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslor’s Hierarchy of Needs Theory) บุคคลจะมีความต้องการที่เรียงลำดับจากระดับพื้นฐานต่ำสุด ไปยังระดับสูงสุด ดังนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)
3. ความต้องการทางสังคม ได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น (Social Needs)
4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ได้รับการยกย่องในสังคม (Esteem Needs)
5. ความต้องการความสมหวังของชีวิต ได้รับความสำเร็จดังที่คาดหวังไว้ (Self-Actualization Needs)
2. ทฤษฎี ERG ของ Clayton P. Alderfer
พัฒนาต่อจากทฤษฎีของมาสโลว์ แต่ไม่จำเป็นต้องตอบสนองตามลำดับขั้น ข้ามไปข้ามมาก็ได้ หรือเกิดขึ้นพร้อมกันเลยก็ได้
1. ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต ความต้องการทางร่างกายและความปลอดภัย (Existence Needs : E)
2. ความต้องการทางด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relatedness Needs : R)
3. ความต้องการด้านความเจริญเติบโตก้าวหน้า ได้รับการยกย่อง (Growth Needs :G)
3. ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg’s Two Factor Theory) เป็นทฤษฎีแรงจูงใจทางสังคม ในการประกอบอาชีพต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ที่สัมพันธ์กับความชอบหรือไม่ชอบในงานของแต่ละบุคคล
1. ปัจจัยจูงใจ (Motivators) : เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานปฏิบัติ สามารถสนองตอบความต้องการภายในบุคคลได้ เช่น ความสำเร็จของงาน การได้รับความยอมรับ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้า
2. ปัจจัยค้ำจุน หรือ ปัจจัยสุขอนามัย (Hygiene Factors) : เป็นปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจัยที่มาจากภายนอก เช่น เงินเดือน โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน นโยบายการบริหารงาน สภาพการทำงาน ความเป็นอยู่ส่วนตัว ความมั่นคงในงาน
4. ทฤษฎีแรงจูงใจของแมคเคิลล์แลนด์ (McClelland’s Motivation Theory) แบ่งแรงจูงใจตามความต้องการขั้นพื้นฐานของบุคคลเป็น 3 แบบ
1. ความต้องการอำนาจ (Power Need)
2. ความต้องการความผูกพัน (Affiliation Need)
3. ความต้องการความสำเร็จ (Achievement Need)
5. ทฤษฎีความเสมอภาค หรือความเท่าเทียม (Equity Theory) ของ J Stacey Adams
เป็น ทฤษฏีสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในองค์กร แนวคิดหลักของทฤษฏีนี้ คือ พนักงานจะเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองกับคนอื่น เพื่อหาความเท่าเทียมกัน หรือความยุติธรรมเสมอ … ถ้าไม่ได้ จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงาน หรืออาจลาออก
6. Vroom’s Expectancy Theory (ทฤษฎีความคาดหวังของ Victor Vroom)
คน ทุกคนมีความคาดหวังต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน การจูงใจขึ้นอยู่กับ 1) บุคคลต้องการสิ่งนั้นมากเพียงใด 2) เขาคิดว่าน่าจะได้สิ่งนั้นมากเพียงใด …
วิธีการจูงใจ จะต้องมีความเข้าใจในเป้าหมายของแต่ละบุคคล ตามองค์ประกอบดังนี้ 1. ความคาดหวัง (Expectancy) ว่าจะสามารถทำงานนั้นได้สำเร็จหรือไม่ เป็นตัวกำหนดความพยายาม 2. กลไก (Instrumentality) ความเชื่อมั่นว่าผลของการทำงาน อาจจะเป็นทางนำไปสู่รางวัลบางอย่างที่ต้องการได้ 3. คุณค่าของรางวัล (Valance) … ซึ่งไม่มีกฎตายตัว เนื่องจากพนักงานทุกคนไม่ได้มีความต้องการแบบเดียวกัน
7. Reinforcement Theory (ทฤษฎีการเสริมแรง ของ Skinner)
ผลรวมของพฤติกรรมที่ผ่านมาในอดีต เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมในอนาคต บุคคลจะแสดงพฤติกรรมเช่นใด ขึ้นอยู่กับว่า เขาได้รับผลเช่นไรในอดีต
8. ทฤษฎี X Y ของ Douglas McGregor
1. มนุษย์ X คือ คนที่มีลักษณะเกียจคร้าน หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ จำเป็นต้องบังคับให้ทำงาน ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
2. มนุษย์ Y คือ คนที่มีลักษณะขยัน มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมจะทำงานให้ความร่วมมือ หากได้รับการจูงใจอย่างเหมาะสม
9. Hawthrone Effect ของ Elton Mayo
(จาก การทดลองนี้ ไม่น่าเชื่อเลยว่า) ผลผลิตที่ได้จากคนงาน มีผลมาจากปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา เช่น ความภูมิใจที่ได้การได้รับการไว้วางใจ มากกว่าการปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้นเสียอีก
อ้างอิงจาก: http://ruchareka.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
You may post your comments here.
หากท่านมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเสนอแนะเชิญออกความเห็นได้
(กรุณาใช้ข้อความสุภาพ และสร้างสรรค์)