การครองรักครองเรือน- การเลือกคู่ และการเลิกกัน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการหย่าร้าง

๑. การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน
๒. ปัญหาการเงิน ไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย (Stanley & Markman, 1997)
๓. ไม่มีความยึดมั่นต่อการแต่งงาน
๔. การเปลี่ยนแปลงของ ความสำคัญในชีวิต
๕. ความไม่ซื่อตรงต่อกัน การนอกใจ
๖. ความล้มเหลวในความคาดหวังในความต้องการของอีกฝ่าย
๗. การติดสิ่งเสพติด
๘. การใช้กำลัง และการใช้เรื่องเพศในทางผิดธรรรม (Abuse)
๙. ขาดทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

ปัจจัยอื่นๆ
คู่แต่งงานที่มีอายุระหว่าง ๒๓-๒๗ มีอัตราการหย่าร้างที่ต่ำกว่า คู่ที่มีการแต่งงานในวันต่ำกว่าอายุ ๒๐ ปี
๖๙ % of respondents said their marriages were very happy.
๘๘ % said they were completely or very satisfied with their marriages.
ข้อมูลประเทศไทย ปี 2551
ประชากรในประเทศไทย ๖๕ ล้านคน
๐-๑๔ ปี: ๒๑.๖ % (male 7,195,750/female 6,870,858)
๑๕-๖๕ ปี : ๗๐.๑ % (male 22,547,238/female 23,092,881)
๖๕ ปี ขึ้นไป:๘.๒ % (male 2,437,640/female 2,923,782) (2007 est.)

Fatherhood Today, Volume 10, Issue 3, Summer 2005 pgs 4-5
http://www.ku.ac.th/e-magazine/october46/know/house.html

หน้าที่ของสามี-ภรรยา ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน
เมื่อผ่านขั้นตอนการเลือกคู่แล้ว การอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยา ทั้งคู่จะต้องมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

สามีมีหน้าที่ 5 ประการ
1. ให้ความนับถือ ยอมรับฐานะแห่งภรรยา
2. ยกย่องให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม
3. มีความซื่อสัตย์ ไม่นอกใจ
4. มอบความเป็นใหญ่
5. หาเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายมามอบให้

ภรรยามีหน้าที่ 5 ประการ
1. จัดดูแลงานบ้านให้เรียบร้อย
2. ใส่ใจสงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
3. ซื่อสัตย์ ไม่ประพฤติผิดนอกใจ
4. ช่วยประหยัดดูแลรักษาทรัพย์ที่หามาได้
5. ขยัน ไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง
คำสอนทางพุทธที่เกี่ยวกับ ความสุขของครอบครัว
1. สุขที่เกิดจากการมีทรัพย์
2. สุขที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
3. สุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้
4. สุขที่เกิดจากการทำงานไม่เป็นโทษ

คำสอนที่เกี่ยวกับวิธีการเลือกคู่ครอง
การเลือกคู่ครองที่เหมาะสมจะทำให้การครองเรือนราบรื่น และ สำเร็จสมประสงค์ เรียกว่า ฅ
สมชีวิกถา 4 ข้อ คือเหตุที่ทำให้คู่สมรสครองเรือนได้ยืดยาว

1. สมศรัทธา ให้เลือกบุคคลที่มีความเชื่อเลื่อมใสในศาสนาหรือสิ่งเคารพบูชาต่าง ๆ เหมือนกัน มีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน มีจุดมุ่งหมายในชีวิตเหมือนกัน ตลอดจนมีรสนิยมตรงกัน
2. สมศีลา ให้เลือกบุคคลที่มีความประพฤติ ศีลธรรม จรรยามารยาท มีพื้นฐานการอบรมพอเหมาะสอดคล้องกัน ไปกันได้ หรืออยู่ในระดับเดียวกัน จะได้ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจิซึ่งกันและกัน
3. สมจาคา ให้เลือกบุคคลที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีใจกว้าง มีความเสียสละ มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลที่เสมอกันด้วยจาคะนี้จะทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข เพราะเมื่อคนเราอยู่ด้วยกันก็ต้องเสียสละทั้งทรัพย์สินเสียสละความสุขของตน เพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
4. สมปัญญา ให้เลือกบุคคลที่มีปัญญาเสมอกัน คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ มีการใช้ความคิดเพื่อแก้ปัญหา

ควรเลือกคนที่มีลักษณะ 4 อย่างดังต่อ เป็นคู่ครอง เพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันชาติ
(ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์)
1. เลือกบุคคลที่มีความขยันในการประกอบอาชีพ
2. เลือกบุคคลที่เป็นคนประหยัด รู้จักออมทรัพย์
3. เลือกบุคคลที่รู้จักคบคนดีเป็นเพื่อน
4. เลือกบุคคลที่มีการเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อนัก

หน้าที่บิดามารดา และบุตร
บิดามารดามีหน้าที่ 5 ประการ บุตรมีหน้าที่ 5 ประการ
1. ห้ามไม่ให้บุตรทำความชั่ว 1. ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
2. สอนให้ตั้งอยู่ในความดี 2. ช่วยทำกิจการหรือธุระของท่าน
3. ให้การศึกษาศิลปวิทยา 3. ดำรงวงศ์สกุล
4. หาคู่ครองให้บุตรเมื่อถึงกาลอันควร 4. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับมรดก
5. มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงกาลอันควร 5. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้

นอกจากนี้ศาสนาพุทธยังสอนให้ สามีภรรยาที่อยากมีความสุขให้ปฏิบัติต่อ สงฆ์ด้วยคือ ให้ คิด พูด ทำ ต่อสงฆ์ด้วยความเมตตา และ ต้อนรับสงฆ์ด้วยความเต็มใจ และ ให้อุปถัมป์ ด้วยปัจจัยสี่ด้วย

เหตุผลในการเลือกคู่ครองของแต่ละบุคคล มีอุดมคติ

1. เพื่อความรักความอบอุ่น การมีชีวิตคู่จะช่วยให้สมหวังในความรักและช่วยให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นที่ได้อยู่ร่วมกับผู้ที่ตนรัก
2. เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของธรรมชาติที่มีมาแต่เดิม
3. เพื่อสร้างฐานะทางครอบครัว ซึ่งอาจนำไปสู่สภาพครอบครัวใหม่ที่มีฐานะดีกว่าเดิม หรือช่วยให้ฐานะที่มีอยู่เดิมนั้นดียิ่งขึ้น

หลักเกณฑ์ในการเลือกคู่ครอง

1. ความรักและความพึงพอใจ
2. วุฒิภาวะของคู่สมรส ได้แก่
- อายุ
- สุขภาพกาย
- วุฒิภาวะทางอารมณ์
- ระดับสติปัญญา
3. บุคลิกภาพ
4. ศาสนาและวัฒนธรรม
5. ฐานะทางเศรษฐกิจ

ความพร้อมในด้านต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับชีวิตสมรส การเตรียมตัวก่อนการสมรส นอกจากการวางแผนจัดงานตามประเพณีแล้ว คู่สมรสควรพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. ความพร้อมด้านอารมณ์ โดยปกติอายุเป็นส่วนหนึ่งของความพร้อมด้านอารมณ์ ดังนั้นคู่สมรสจึงควรสำรวจตนเองว่ามีความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตสมรสหรือไม่

2. ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตคู่ คู่สมรสควรมีอาชีพหรือรายได้ก่อนแต่งงาน

3. ความพร้อมด้านสุขภาพ คู่สมรสควรปรึกษาแพทย์ก่อนแต่งงานเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด ถ้ามีปัญหาจะได้แก้ไข

การตรวจสุขภาพก่อนสมรส

1. สุขภาพทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

2. ค้นหาความบกพร่องทางด้านร่างกายที่เป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

3. การตรวจกลุ่มเลือด เพื่อให้ทราบถึง โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เพื่อสามารถระมัดระวังและป้องกันตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ได้

กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับ การให้สมรส

ตามกฎหมาย ยินยอมให้กระทำการสมรสได้เมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ โดยได้รับความยินยอมจากพ่อแม่และผู้ปกครอง แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 17 ปี ก็สามารถทำการสมรสได้แต่ต้องขออนุญาตจากศาล
นอกจากนี้ตามกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขแห่งการสมรสว่า ห้ามบุคคลต่อไปนี้ทำการสมรสกัน เช่น เป็นคนวิกลจริต เป็นญาติสืบสายเลือดเดียวกัน ผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

การปรับตัวในชีวิตสมรส

เพื่อให้การครองเรือนราบรื่น คู่สมรสควรยึดหลักในการปรับตัวในชีวิตสมรส ดังนี้

1. การปรับตัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว การให้เกียรติและยกย่องกัน ไม่ประพฤติตนนอกใจคู่สมรส

2. การปรับตัวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องเงินมักเป็นปัญหาใหญ่ ควรมีการวางแผนการใช้จ่าย

3. ปรับตัวด้านเพศสัมพันธ์ ย่อมนำความพึงพอใจมาสู่คู่สมรส และเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตครอบครัวราบรื่น


บทกวีเกี่ยวกับการพบคู่รัก
http://bannpeeploy.exteen.com/20080131/entry-12

บางคนบางคู่ เห็นหน้ากันเพียงครั้งเดียวก็หลงรักกัน
บางคนบางคู่ รู้จักศึกษานิสัยใจคอกันพอสมควร จึงเกิดความรัก
บางคนบางคู่ ได้เกื้อหนุนจุนเจือกัน นานไปก็เกิดเป็นความรัก
บางคนบางคู่ สนิทสนมกลมเกลียวเป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เด็กแต่น้อย แล้วจึงค่อยแปรเปลี่ยน เป็นความรักเมื่อโตเป็นหนุ่มเป็นสาว
บางคนบางคู่ ได้สมหวังในความรัก ขณะที่บางคู่กลับต้องเลิกรา
บางคน ได้แต่หลงรักเขาข้างเดียว แต่เขาไม่เคยมีใจรักตอบ
บางคน เขามาชอบ พยายามทอดสะพานให้เรา แต่กลับไม่สนใจ..
ขณะที่บางคน ทั้งชีวิตกลับเงียบเหงา ไม่เคยมีลมรักพัดผ่านมาให้ชื่นใจเลย แม้แต่เพียงครั้งเดียว
ดูแล้วความรักของหญิงชายนี้ช่างวุ่นวายนัก จนน่าสงสัยว่ามีเหตุอะไรที่ทำให้หญิงชายมารักกัน หรือมีเหตุอะไรที่ทำให้หญิงชายนั้นไม่รักกัน

ลักษณะการเป็นคู่ของหญิงชายในทัศนะของคนไทย

มีได้หลายแบบ คือ หญิงชายที่รักกัน และมีความสัมพันธ์กัน เรียกว่าเป็นคู่กัน
คู่รัก ได้แก่คู่หญิงชายที่มีใจรักสมัครสมาน ปฏิบัติต่อกันในฐานะคู่รัก แต่ยังไม่ได้เป็นสามีภรรยากัน

คู่ครอง คือ หญิงชายที่ได้ตกลงอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันในชาติภพปัจจุบัน
เนื้อคู่ คือ หญิงชายที่เคยเป็นคู่ครองกันมาในอดีตชาติ แต่ในชาติภพปัจจุบันอาจเป็นหรือไม่ได้เป็นคู่ครองกันก็ได้

คู่แท้ คือ หญิงชายที่เป็นเนื้อคู่กัน เคยอยู่ร่วมกันในอดีตมามากกว่าคนอื่นๆ หญิงชายแต่ละคนอาจมีคู่แท้ได้หลายคน และเช่นเดียวกับ

เนื้อคู่ คือ คู่แท้อาจจะไม่ได้เป็นคู่ครองกันในชาติปัจจุบันก็ได้ หากทั้งสองฝ่ายไม่ได้มาเกิดร่วมกัน หรือทั้งสองฝ่ายมีวิบากจากถูกอกุศลกรรมมาตัดรอน

คู่เวรคู่กรรม คือ หญิงชายที่ได้เป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเหตุที่ทำให้ต้องมาครองคู่กันนั้นเกิดจากเคยทำอกุศลกรรมร่วมกันไว้ในอดีต จึงต้องมารับวิบากกรรมร่วมกัน หรือเคยอาฆาตพยาบาทกันมาก่อนในอดีต จึงต้องมาอยู่ร่วมกันเพื่อแก้แค้นกันตามแรงพยาบาทนั้น คู่ประเภทนี้มักจะมีเหตุให้มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ขัดอกขัดใจกัน อยู่ด้วยกันด้วยความทุกข์และเดือดร้อน หาความสุขไม่ได้

คู่บารมี คือ หญิงชายที่เป็นเนื้อคู่กัน เคยอยู่เป็นคู่ครองกันมากมากกว่าคู่อื่น และมีความตั้งใจที่จะเกื้อหนุนเป็นคู่ครองกันไป จนกว่าคู่ของตนจะได้สำเร็จในธรรมที่ปรารถนา

การปฎิบัติเพื่อให้คู่ครองมีความสุข
หญิงและชายที่รักกัน คงปรารถนาที่จะให้คนรักของตนเป็นเนื้อคู่ อยากให้ความรักของตนมีแต่ความสุขแต่บางคู่อาจมีการพลัดพราก ความรักจืดจาง จากหวานกลายเป็นขม บางคู่แม้จะยังรักกัน แต่การทำมาหากินกลับฝืดเคือง ชีวิตมีแต่อุปสรรค เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ที่เกิดเพราะความรัก เป็นวิบากที่เกิดจากการกระทำของทั้งสองฝ่าย หากหญิงและชายปรารถนาที่จะมีความรักและชีวิตที่ครอบครัวที่เป็นสุข จะต้องเป็นผู้ไม่สร้างอกุศลกรรม ดังนี้

๑. มีความมั่นคงในคู่ครองของตน ไม่เจ้าชู้หลายใจ ไม่ทำให้คู่ของตนผิดหวังชอกช้ำใจ โดยเฉพาะต้องมีสติมั่นคงเมื่อได้มีโอกาสได้พบกับเนื้อคู่คนอื่นๆ ที่อาจผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งการได้เคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอาจทำให้จิตใจหวั่นไหวได้
๒. ไม่เป็นเหตุให้คู่ครองเขาต้องแตกแยกด้วยความอิจฉา ริษยา
๓. ไม่ล่วงศีลข้อ ๓
๔. ไม่ดูหมิ่นศาสนา หรือ สาวกทางศาสนา

การสร้างความสุขในชีวิตสมรส
ครอบครัวมีความสุข ชีวิตสมรสประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ผู้ครองเรือนปรารถนา
แต่ครอบครัวมีความสุขเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับความคิดและความรู้สึกของแต่ละบุคคล
และแต่ละครอบครัว ตัวอย่างเช่น
ครอบครัวมีความสุข คือ ครอบครัวที่มีการศึกษาดี มีชื่อเสียง สังคมยอมรับ และยกย่อง
ครอบครัวมีความสุข คือ ครอบครัวที่มีความเข้าใจกัน เห็นอกเห็นใจ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง
สามัคคีกันเป็นอย่างดี
ครอบครัวมีความสุข คือ ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยสวยงาม
มั่นคง คนในครอบครัวมีอาชีพและมีรายได้
ครอบครัวมีความสุข คือ ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวสมบูรณ์ครบถ้วน มีพ่อแม่
ลูกหลาน ปู่ ย่า ตา ยาย อยู่ร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

You may post your comments here.
หากท่านมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเสนอแนะเชิญออกความเห็นได้
(กรุณาใช้ข้อความสุภาพ และสร้างสรรค์)