แบบทดสอบเรื่องการอธิษฐาน

แบบทดสอบเรื่องการอธิษฐาน

๑. มนุษย์สื่อสารกับพระเจ้าทางได้ดีที่สุด

ก. การร้องเพลง
ข.การบ่น
ค. การอธิษฐาน
ง. ร้องเรียกหาพระเจ้ายามลำบาก
จ. นิมิตและความฝัน

๒. อะไรเป็นสิ่งจูงใจสำคัญให้คริสเตียนทั่วไปต้องอธิษฐานมากที่สุด

ก. ความกลัว ความกังวลใจ
ข. ความสำเร็จ
ค. เป็นหน้าของคริสเตียน
ง. ความว้าเหว่
จ. การอธิษฐานเผื่อคนที่ไม่รู้จักพระเจ้า

๓. การอธิษฐานแบบใดที่ตรงตามพระคัมภีร์

ก. การอธิษฐานก่อนนอน
ข. การอธิษฐานซ้ำๆ
ค. การอธิษฐานดังๆ
ง. การอธิษฐานที่ตรงตามพระประสงค์ของพระเจ้า
จ. อธิษฐานบ่อยๆ

๔. ทำไมคริสเตียนจึงไม่ค่อยได้อธิษฐาน
ก. ตื่นสาย
ข. ลืม
ค. ชีวิตสบายดี กินอิ่ม นอนอุ่น
ง. งานยุ่ง
จ. ความเกียจคร้าน

๕. การอธิษฐานอย่างไรน่าจะได้รับคำตอบมากที่สุด
ก. ด้วยความเชื่อศรัทธา
ข. ด้วยความถ่อมใจ
ค. ด้วยความจริงใจ
ง. ด้วยความอดทน
จ. อธิษฐานในพระนามพระเยซู

๖. หน้าที่ในการอธิษฐานเผื่องานในคริสตจักรน่าจะเป็นหน้าที่ของใครมากที่สุด

ก. ศิษยาภิบาล
ข. ผู้ปกครอง
ค. สตรี
ง. ผู้เชื่อทุกคน
จ. คณะกรรมการโบสถ์

๗. ตามปกติท่านมักจะใช้เวลาใดในการอธิษฐาน

ก. ตอนเช้าตรู่
ข. ก่อนนอน
ค. ก่อนรับประทานอาหาร
ง. เมื่อชีวิตมีปัญหา
จ. ทุกเวลา

๘. มีคำกล่าวว่า “การอธิษฐานคือพลังในการขับเคลื่อนคริสตจักร” ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร

ก. ไม่เห็นด้วย เพราะการอธิษฐานใครๆ ก็อธิษฐานได้อยู่แล้ว
ข. ไม่เห็นด้วย เพราะคริสตจักรจะไปได้ดีเพราะมีศิษยาภิบาลที่ดีมากกว่า
ค. เห็นด้วย เพราะถ้าไม่มีการอธิษฐานอย่างจริงจัง การงานพระเจ้าก็ไม่ค่อยเกิดผล
ง. เห็นด้วย เพราะการอธิษฐานช่วยให้คนในคริสตจักรมาสามัคคีธรรมร่วมกันมากขึ้น
จ. เห็นด้วยแต่คิดว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของศิษยาภิบาล และคณะธรรมกิจมากกว่า

๙. สิ่งใดคืออุปสรรคของการอธิษฐานที่ตรงตามคำสอนของพระเยซูคริสต์

ก. การบ่มความชั่วไว้ในใจ
ข. การไม่ให้อภัย
ค. การไม่หันกลับจากความชั่ว
ง. ความสงสัยหรือสองใจ
จ. การขอผิดหวังเอาไปสนองกิเลศตัณหาของตน

๑๐. การอธิษฐานประเภทใดคริสเตียนทั่วไปมักจะทำน้อยที่สุด

ก. อธิษฐานสรรเสริญพระเจ้า
ข. อธิษฐานสารภาพบาปตามผู้นำประชุม
ค. อธิษฐานเพื่อถวายตัวแด่พระเจ้า
ค. อธิษฐานเผื่อผู้นำคริสตจักร และผู้รับใช้พระเจ้า
ง. อธิษฐานทูลขอการเลี้ยงดูและเพื่อการดำรงชีวิตของตนเองและลูกๆ ญาติๆ
จ. อธิษฐานเผื่อความรอดของคนในชุมชน และประเทศไทย

คำชี้แจง แบบทดสอบนี้จัดทำขึ้นด้วยความเห็นส่วนตัวเป็นการประยุกต์ใช้หลักศาสนศาสตร์หากมีข้อผิดพลาดกรุณาแจ้งให้ผู้จัดทำเพื่อทำการปรับปรุงต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

You may post your comments here.
หากท่านมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเสนอแนะเชิญออกความเห็นได้
(กรุณาใช้ข้อความสุภาพ และสร้างสรรค์)