ความเป็นมาของรวีวารศึกษา-ตอนที่ 4

การจัดการหลักสูตรรวีวารศึกษา

คำจำกัดความของหลักสูตรมาจากคำว่า “ลู่แข่งขัน”หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะทำให้การทำให้เป้าหมายนั้นสำเร็จ สำหรับอุปกรณ์ประกอบหลักสูตรเช่น หนังสือครูหนังสือนักเรียน รูปภาพเกมท่องจำ ซึ่งในแต่ละอย่างนั้นก็จะมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน หลักสูตรที่วางแผนสำหรับผู้ใหญ่ ส่วนมากแล้ววัยหนุ่มสาวจะรู้สึกว่าเขาไม่ต้องการบทเรียนที่สอนทั่วไปเพราะพวกเขาได้ยินมาตลอด แต่บทเรียนนั้นต้องเป็นบทเรียนที่เฉพาะเจาะจงตรงกับสิ่งที่เขาสนใจ หรือการท้าทายการถวายตัวรับใช้ เช่นหลักสูตรการศึกษาพระคัมภีร์ จะเป็น การศึกษาพระคัมภีร์ทั้งเล่มหรือการหาความหมายสำหรับชีวิตของพวกเขา สำหรับหลักสูตรเลือกก็เป็นอีกแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนกับนักเรียนไปด้วยกันได้ และตรงตามความต้องการของผู้เรียนการจัดอบรมผู้นำ เป็นแนวทางที่จะทำให้มีคนหนุ่มสาวได้เริ่มในการรับใช้ช่วยให้คริสตจักรเข้มแข็งขึ้นอีกด้วย การเน้นหลักสูตรก็จะอยู่ใน 3 ด้าน คือ

1. พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง
2. พระคัมภีร์เป็นรากฐาน
3. สัมพันธ์กับนักเรียน

การเลือกบทเรียนในการสอนจะอยู่ในบรรทัดฐานของเนื้อหาทาง
ศาสนศาสตร์ เนื้อหาบทเรียน รูปลักษณ์ของบทเรียน ความช่วยเหลือของครูและความช่วยเหลือของนักเรียนด้วย

วิธีการสอน

การสอนโดยการอธิบายพระคำของพระเจ้า ครูผู้บรรยายจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจบทเรียนที่ตนสอนและต้องเตรียมพร้อมเป็นอย่างดีโดยคำนึงอยู่เสมอว่า ครูเป็นผู้เลี้ยงที่ต้องนำแกะไปยังทุ่งหญ้าเขียวสด การเกี่ยวข้องกับนักเรียน ครูนอกจากจะอภิปรายแล้วยังต้องเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้ถาม/ตอบด้วย และในการสอนนั้นต้องมีกิจกรรม เพราะสำหรับเด็กการเรียนรู้ไม่ใช่เป็นการนั่งเรียนในชั้นเรียนเท่านั้นเพราะการนั่งฟังไม่ใช่นิสัยของเด็ก การเรียนรู้ของเขาต้องครอบคลุมไม่จำเจ เด็กต้องการทักษะสิ่งใหม่ ๆ ที่เขาจะได้แสดงออกอยู่เสมอ ๆ กิจกรรมสามารถช่วยให้เด็กได้พัฒนาในด้านการแสดงออก เป็นการจินตนาการที่เขาตั้งใจไม่ว่าจะเป็น การวาดรูประบายสี หรืองานฝีมือต่าง ๆ การจัดห้องเรียนก็เป็นการเรียนบทเรียนไปในตัวเช่นการติดรูปที่เล่าเรื่องต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ตามผนังห้องเรียน การสอนเด็กที่ดีครูต้องรู้จักให้กำลังใจแก่เด็กชมเขา สร้างวินัยให้แก่เขาให้กลายเป็นนิสัยส่วนตัวของเขา

การสร้างสาวกผ่านทางรวีวารศึกษา
เมื่อนักเรียนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาระดับหนึ่ง ครูรวีต้องมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องจนเขาสามารถหากินอาหารเองได้ การปลุกเร้าระดมให้ผู้เรียนได้อุทิศชีวิตของพวกเขาแด่พระเยซูคริสต์ อีกด้านหนึ่งคือ ครูเป็นแบบอย่างแก่แก่ผู้เรียนในการประกาศก็จะช่วยให้พวกเขาได้มีความกล้าหาญในการประกาศ โดยการมุ่งเน้นเป้าหมายมาที่ผู้เรียนจะช่วยให้เขาพัฒนาของประทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ครูผู้สอนไม่ควรมองข้ามอีกอย่างคือ การชมเชยในสิ่งที่ผู้เรียนได้ทำ จะเป็นการกระตุ้นให้เขามุ่งมั่นต่อไปที่จะทำดีเพราะเขารู้ว่าครูเห็นในสิ่งที่เขาทำ

กฎแห่งการเติบโตของงานรวีวารศึกษา
พระเจ้าทรงคาดหวังให้การเจริญเติบโตในด้านจำนวน (กจ.6.7) ขบวนการของรวีวารศึกษาคือการเจริญเติบโตและการเห็นผลของพระวิญญาณเกิดขึ้นในผู้เรียนด้วย ส่วนด้านความรู้เป็นสิ่งที่ควบคู่กันกับการเติบโตตัวอย่างจาก กจ.2.41-42 คนทั้งหลายได้ขะมักเขม้นฟังคำสอนของพวกอัครทูต

พื้นฐานการเจริญเติบโตของรวีวารศึกษาแบ่งออกเป็น 4 อย่างคือ
1. กฎแห่งการขยายออกไป
2. กฎแห่งวินัย
3. กฎแห่งการบริหารและการจัดองค์กร
4. กฎแห่งการเป็นผู้นำ ซึ่งกฎทั้งสี่นี้เป็นกุญแจแห่งการเจริญเติบโต

องค์ประกอบของการสร้างสาวก เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้เทคนิคช่วยหรือการนำกิจกรรมเข้ามาช่วยหรือในการสอนมีกิจกรรมที่น่าสนใจ และสามารถนำคำสอนไปใช้ได้จริง การเป็นผู้นำที่ดีควรเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นได้ดี เรียนรู้จักการใช้เทคนิคต่าง ๆ ส่วนฝ่ายวิญญาณต้องได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้ามีความเข้าใจในพระคัมภีร์และสามารถะนำมาประยุกต์ใช้ได้

อนาคตของงานรวีวารศึกษา

งานรวีวารศึกษาเกิดขึ้นจากบุคคลที่มีความห่วงใยในชีวิตของคนที่ไม่มีใครสนใจจากบุคคลที่เป็นภาระของสังคมเป็นอันตรายต่อคนทั่ว ๆ ไปเป็นอันพาล กระจกส่องหลังที่เปี่ยมไปด้วยพลังที่เกิดผล หลังจากสงครามกลางเมืองสงบลง ปี 1866 จอห์น เอช วินเซนต์ ได้จัดทำหนังสือ ซันเดย์สคูล ทีเชอร์ ซึ่งเป็นระบบใหม่ของรวีวารศึกษา ในปี 1872 บทเรียนนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในทุกคณะ แม้แต่ในแคนาดาก็ได้นำบทเรียนนี้ไปใช้ด้วย

สรุป

งานรวีวารศึกษา เป็นงานที่เริ่มต้นมาอย่างมีหลักการ และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาและพัฒนาด้านจิตวิญญาณของผู้เชื่อเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งยวด การสอนพระวจนะของพระเจ้าคือวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เชื่อทุกระดับอายุ ทุกระดับความเชื่อมีการพัฒนาขึ้นไปสู่ความเจริญงอกงามทางด้านจิตวิญญาณ ความเชื่อ ความรัก และเป็นคริสเตียนที่เกิดผลอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

You may post your comments here.
หากท่านมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเสนอแนะเชิญออกความเห็นได้
(กรุณาใช้ข้อความสุภาพ และสร้างสรรค์)