สร้างค่านิยมสวนกระแสกันหน่อยดีไหม Going against but Reverse not Adverse

                                                       Y ค่านิยมสวนกระแส? y

เห็นเขาเห่อ ผมไม่ขอเห่อตามเขา
เห็นเขาเมา ผมจงใจเลิกเมามาแล้วตั้งนาน

เห็นเขาบ้างาน ทำมันเจ็ดวันไม่หยุด ผมขอหยุดพักผ่อนบ้างวันอาทิตย์(เพื่อสุขภาพที่ดีในปั้นปลาย)
เห็นเขาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ ผมไม่คิดไหว้ตามให้เกิดทุกข์ 

เห็นเขาสนุกกับบาป ผมขอสาป ไม่เคลิ้มตามเขา
เห็นเขากินอาหารเสริม ผมไม่เหลิมหลงกินตามเขา
เห็นเขาเมาหาเงิน ผมไม่เพลินเดินตามมันนี่

เห็นเขาชอบของฟรี ผมไม่ยินดีเอออวย
เห็นเขาซื้อหวย ผมไม่สนโพยบอกใบ้ได้หลายปีแล้

H ถ้าสิ่งเหล่านั้นมันขัดแย้งกับความเชื่อตามหลักพระวจนะของพระเจ้าที่ผมยึดถือH





 
(การสร้างความแตกต่างอาจจะถูกมองว่าเป็นแกะดำ หรือเป็นโยเซฝที่พี่น้องคิดว่าเขาดูถูกพี่น้องของเขา)

 Q ผมเชื่อว่า คนที่เข้มแข็ง จำเป็นต้องมีจุดแข็ง จุดยืนที่แน่วแน่ ผมพร้อมที่จะยืนหยัดบนหลักการแห่งความจริง ตามหลักของพระคัมภีร์ แม้ว่าผมจะสวนกระแส แม้คนหมู่มากไม่เห็นด้วย Q

U แม้ว่าผมต้องยืนอยู่อย่างโดดเดียวและเดียวดาย ถูกผู้มีอำนาจ มีอิทธิพลทางศาสนาทำการปิดกั้นไม่ให้เข้าไปในกลุ่มของเขา เพื่อสกัดดาวรุ่ง แต่ผมก็ขอยืนอยู่ในจุดที่ถูกต้อง จุดที่เป็นความจริง ไม่ใช่กระแส หรือแนวคิด แต่ต้องเป็นสัจจะเท่านั้น U

K แม้ว่าใครๆ จะทำตามประเพณี ตามวัฒนธรรมสืบทอดกันมาเป็นสิบเป็น ร้อยปี แต่ถ้าวันหนึ่งผมรับรู้ว่า มันเป็นสิ่งเหลวไหล ทำให้เกิดทุกข์ ทำไปเรื่อยๆ มันจะลงเอยไม่ดี ผมมาผิดทาง เชื่อผิดทาง เดินผิดทาง ผมจะหันกลับ ผมจะไม่เดินตามมติคนหมู่มาก เพราะมติของคนหมู่มาก แม้จะถูกใจคน แต่ถ้าไม่ถูกใจพระเจ้า ผมก็ไม่เล่นด้วย เพราะมีคำกล่าวว่า "ทางกว้างนำไปสู่ความพินาศ" K

B ผมไม่เห่อใส่สูท ผูกไทด์ ทำหน้าใหญ่ไปทำงาน อากาศร้อนขนาดนี้ ผมจะใส่ไปทำไม B
ทราบไหมว่า วัฒนธรรมใส่สูท  มันมาจากไหน  มาจากเมืองหนาว หรือเมืองร้อน  พอมันกลายเป็นกระแส เป็นวัฒนธรรม  มันก็แพร่กระจาย  พอคนต่างชาติต่างแดน เห็นคนในภาพยนต์ก็ทำตามกันมาก จนจำแนกไม่ออกว่ามันมาจากไหน   คนไทยก็เลยทำตาม เพื่อให้ดูเหมือนว่า ฉันก็ใส่สูทนะจ๊ะ -เท่ไหม

P ผมไม่เห่อใส่ครุย หรือถ่อสังขารไปร่วมงานรับใบปริญญาจากผู้ยิ่งใหญ่ ผมไม่สนใจจะไปรับ ไม่อยากไปเสียค่าคิว ผมอยู่บ้านเขาก็ส่งมาให้ไม่ต้องเสียเงินหมื่นไปรับ P

MA ผมมีโอกาสได้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาจนจบถึงวันรับปริญญาถึงสองสถาบัน ไม่ใช่ว่า ผมไม่นับถือสถาบันนะ แต่ผมไม่อยากเห่อไปรับใบปริญญาแผ่นกระดาษสมมุติ M.div

ผมขอไม่ไปรับใบปริญญา เพราะผมคิดว่า การไปรับใบปริญญาไม่สำคัญกว่าความรู้ความสามารถที่ได้อุทิศตนเอง เสียเงินเอง พัฒนาตนเองในการศึกษา  จนสามารถจบการศึกษาตามหลักสูตร ด้วยความสามารถเท่าที่มี ถ้าเราเรียนไม่จบ สอบไม่ผ่านหลักสูตรคงไม่มีใครมาประสาทใบอะไรให้

ถ้าเราไม่มีเงินหมื่น เงินแสน เราก็ไม่มีโอกาสไปยืนยิ้มรับใบปริญญา ค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ใบปริญญาเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงแค่ผมนะที่ไม่ไปรับใบปริญญา  ผมบอกลูกไว้ก่อนด้วยว่า ถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องไปรับหรอก เสียค่าเห่อเปล่าๆ ใครอยากไปปล่อยเขาไปเถอะ  แต่ลูกจะไปรับหรือไม่นี่ผมไม่ห้ามนะ แล้วแต่เขา

Z แม้คนหมู่มากจะดีใจกันยกใหญ่ ยกขโยงกันไปทั้งครัวเรือนและญาติมิตร เพื่อถ่ายรูปกับผู้ยิ่งใหญ่ หรือคนสำคัญของสถาบัน เจ้าอธิการบดี แล้วเอาไปติดฝาบ้าน เพื่อเป็นสง่าราศี ตามค่านิยม ที่ใครๆ ก็ทำกัน  แต่ผมทราบว่าอันนี้ไม่ใช่ผม ผมจึงไม่ไปรับใบปริญญาที่อุตส่าห์เรียนมาอย่างหนัก Z

NN ขอโทษด้วยครับ บางอย่างมันเป็นสิทธิของผมที่จะทำหรือไม่ทำโดยที่มันไม่ได้ทำให้ใครๆ เดือดร้อน ผมขอสวนกระแส แต่ผมไม่ต่อต้านใครครับ NN

..................................สำหรับโบสถ์วันอาทิตย์ ...................................

ทราบไหมว่า  วัฒนธรรมการไปโบสถ์วันอาทิตย์ที่คริสเตียนไทยปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้มันมาจากไหน  ทำไมต้องนมัสการเช้าวันอาทิตย์  ในพระคัมภีร์ ไม่ได้กล่าวไว้ชัดเจน หรือสั่งว่าให้ผู้เชื่อพระเจ้าพากันมานมัสการพระเจ้าทุกเช้าวันอาทิตย์   ผมเองคุ้นเคยกับการไปนมัสการพระเจ้าพร้อมครอบครัว  ทุกเช้าวันอาทิตย์  เป็นเวลากว่าสี่สิบปี  พอผมเริ่มรู้สึกตัวว่า ตัวเองเริ่มเติบโตในความเชื่อขึ้นมาบ้าง ผมเริ่มสงสัยว่า  ทำไมข้าต้องไปโบสถ์ทุกอาทิตย์  ไปแล้วมันได้อะไร  ถ้าไปแล้วคนไม่มารอด จะไปทำไม มีวิธีอื่นที่ดีกว่าการไปโบสถ์ไหม 

จากการค้นคว้าดูในอินเตอร์เนท  ฝรั่งเขาเถียงกันมาเยอะ สรุปได้ว่าเขาสอนว่า ไปโบสถ์ มีเหตุผลหลายประการ เช่น

ก. ไปหนุนใจกันในความเชื่อ 
ข. ไปเรียนพระคัมภีร์ หัดร้องเพลงคริสเตียน
ค. ไปนมัสการพระเจ้า
ง. ไปร่วมกิจกรรมสนุกๆ เพื่อจะได้มีความสุข ให้ลืมทุกข์

ทราบไหมว่า คริสเตียนแต่ละกลุ่มที่แตกต่างความเชื่อกัน เขานัดวันนมัสการพระเจ้า โดยการถือวันสะบาโตต่างกัน   คริสเตียนสายโปรเตสแตนท์ส่วนใหญ่  และสายศาสนาคาทอลิค  เขาถือเอาวันอาทิตย์เป็นวันสะบาโต  ส่วนคริสเตียนสายเซเว่นเดย์ ถือวันเสาร์เป็นวันสะบาโต (แท้จริงวันสะบาโตคือวันไหนแน่ เชิญอ่านบทความต่อท้ายนะครับ)

การถือวันสะบาโต ถือเป็นเครื่องหมายสำคัญของการเป็นผู้เชื่อพระเจ้า ใครที่อ้างตัวว่าเชื่อพระเจ้าแต่ไม่มีเวลาหยุดพัก 1 วันในแต่ละสัปดาห์ ยังถือว่าไม่มีเครื่องหมายของการเป็นคนในความปกครองของพระเจ้า  ดังนั้น ผีคงจะมาเอาเขาไปทำร้าย  เข้าสิง ตัดเงิน ตัดงาน  ทำให้ป่วย หรือทำให้พิการ อุบัติเหตุวันไหน อันนี้ไม่มีใครคาดเดาได้  เพราะไม่มีเครื่องหมายแห่งคนที่มีศรัทธาแรงกล้าในพระเจ้า

พูดง่ายๆ คือเป็นหมาไม่มีปอกคอ  ใครเห็นก็จับไปฆ่า เอาไปทำอาหารได้เลย เพราะเป็นเหมือนสัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของ  ไอ้เจ้าสัตว์ป่าทั้งหลายในป่าซาฟารี  ตัวไหนที่ดื้อไม่เข้าฝูง ไม่ตามฝูง คิดว่าออกไปข้างนอกมันสนุก  มันได้กินเยอะกว่า  ไม่ยอมทำตามระบบหมู่ไม่นานก็ถูกหมาไน สิงโต เสือดาวจับไปกินเป็นอาหาร  คนที่อ้างว่าเป็นคริสเตียนแต่ไม่เสียภาษีให้กับแผ่นดินของพระเจ้า ไม่เข้าร่วมนมัสการ  ไม่ถือวันสบาโตก็คงเป็นอย่างนั้น  

เพราะว่าคงเป็นเหมือนว่า  สุนัขที่ไม่มีเจ้าของ  ไม่มีสายคาดคอ  ไม่มีเครื่องหมายบ่งบอกว่า เป็นสุนัขมีเจ้าของ ดังนั้น เวลามันเดินไปไหนมาไหน  หากจะมีใครมาเตะหรือมาจับมันไปทำเนื้อผัด ก็คงไม่มีใครสามารถคาดเดาได้  และผมก็ไม่ขอสอนว่า ถ้าใครไม่นับถือวันสะบาโตจะเป็นเหมือนหมาไม่มีเจ้าของนะครับ   อย่าคิดกันเอาเอง
อย่างไรก็ตามการจะทำอะไร มันก็ต้องดูที่เจตนานะ  พระเจ้าก็คงไม่เจ้ากี้เจ้าการละเอียดถี่ยิบ  หรือเอาตามระเบียบเป๊ะๆ  มันขึ้นอยู่กับว่า  ใครคนนั้นเขามีเจตนาเป็นอย่างไรด้วย  ถ้ามีจิตใจเหมือนสัตว์ป่าที่เดินในทุ่งโลก คิดว่าจะใช้กำลังและเรี่ยวแรงของตัวเอง  อันนี้ก็คงไม่นานก็จะถูกผีสิงหัว หิ้วไปเป็นทาสไม่ช้าก็นานอย่างแน่นอน

สำหรับผมเอง ทำไมต้องยกเอาวันอาทิตย์มาแทรกเรื่อง นี้ ก็เพราะว่า ผมได้ทำในสิ่งที่แตกต่าง คือปกติแล้ว  ผมและครอบครัว หรือทีมงาน หรือใครๆ  ที่เชื่อพระเจ้าต้องไปนมัสการกันที่โบสถ์ไหนสักแห่ง  บางคนแม้ต้องออกต่างจังหวัด หรือไปเที่ยวกันหลายคน  ตามธรรมเนียมแล้ว คริสเตียนก็จะต้องมองหาโบสถ์เพื่อไปร่วมนมัสการกัน  เพราะมันเหมือนกับว่า  ได้ไปหาพระเจ้า ได้ไปหาพร นั่นคือความคิด ความเชื่อที่ฝังหัวชาวคริสต์มาเป็นพันปี  และมันก็ถูกส่งต่อความเชื่อกันมาอย่างนี้

ในเรื่องนี้ผมกำลังพูดถึงการสร้างความแตกต่าง สวนกระแส  แล้วจะทำให้มันแตกต่างอย่างไรละ

เออ ผมก็มาคิดกันกับคุณต้น เพื่อนร่วมงานของผม ซึ่งมีของประทานทางวิญญาณที่ได้ช่วยคนไปเยอะ  ปีแรกเราทำทีมกัน ก็มีคนขอมาเข้าร่วมเยอะ  ส่วนมากเป็นเด็ก  มีผู้่ใหญบ้างประมาณสิบคน แต่ว่าผู้ใหญ่ เขามาเรียนรู้แล้วเขาก็ออกไป เพราะเขาติดระบบ "รากงอก" คือติดม้านั่งยาว ในโบสถ์เก่า  เขาจึงต้องกลับไปทำอย่างเดิม ปฏิบัติอย่างเดิม 

เพราะที่นั่น(โบสถ์ระบบศาสนา) มีรางวัลใหญรอไว้ คือ คำว่า "สมาชิกสมบูรณ์" (มหาอมตะนิรันดร์กาล)  เขาจึงต้องไปอยู่ที่เดิม แม้ว่าผมจะสอนอย่างไร  เขาก็ต้องไปอยู่กันอย่างนั้น เพราะว่า มันติดแล้ว  แก้ไขความคิดอะไรไม่ได้  เขาไม่มีความคิดที่จะกล้าออกไปประกาศอะไรให้เป็นจริงจังหรอก แค่ได้ออกไปเท่านั้นแต่ไม่ได้เกิดผลอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน   

แม้ว่าบางคนจะจบศาสนศาสตร์  บางคนจบปริญาทางศาสนาคริสต์  ไปโบสถ์สิบกว่าปี ยี่สิบปี มีความรู้เรื่องศาสนาอย่างดี  พระคัมภีร์แม่นเป๊ะ   ก็ยังคิดจะอยู่ที่โบสถ์ไปจนตาย ไม่คิดออกไปไหน  ก็ต้องอยู่โบสถ์ไม่สามารถจะออกจากโบสถ์ได้ เพราะมันติดอบอุ่น  นั่งสบาย แอร์เย็น อาหารเยี่ยม ดนตรีเพราะ นักนมัสการสุดยอด  เวลานมัสการกับคนเยอะๆ ได้อารมณ์สุดกู่   สนุกมาก  ลืมทุกข์ไปเลย

หลายคนจึงติดรูปแบบการนมัสการแบบต่างๆ  ทั้งแบบลิงโลด  เต้นโลด  หรือเป็นแบบงุมหงิม เงียบๆ  คลอเสียงออร์แกน หรือเสียงเปียนโน  บ้างที่อยู่อิสาน ก็ติดเพลงหมอลำคริสเตียน ไปแล้วมันเพลินลืมทุกข์ไปได้หนึ่งวัน  แม้จะเป็นคริสเตียนได้สิบปี  ก็ไม่เคยคิดว่า  กูต้องออกไปประกาศ สร้างสาวกต่อไป  เพราะเขาถูกศาสนาหลอกให้อยู่ในโบสถ์  ให้เลี้ยงดูอาจารย์ไปจนแก่ตายไปข้างหนึ่ง  ชีวิตจึงไปไม่ถึงเป้าหมายการเป็นผู้เชื่อเลย

แต่ละปี โบสถ์คริสต์จะมีงานมหกรรมในเทศกาลคริสตมาสอย่างยิ่งใหญ่   งานนี้ยิ่งสนุกใหญ่ เพราะมีการจัดงานมหกรรมเทกระจาด  ทำให้เกิดความครึกครืนอย่างมหาศาล มีการแจกของ แจกรางวัลกันมากมาย  คนไปโบสถ์แล้วมันสนุกก็ติด ไม่อยากไปไหน  หมุนเวียนอย่างนี้ปีแล้วปีเล่า  จนลืมเป้าหมายชีวิตผู้เชื่อไป

อีกอย่างคริสเตียนบางแห่งเขาก็รักกันจริง  มีความเป็นพี่น้อง  ผู้เชื่อจึงติดโบสถ์ไม่ออกไปไหน หากไม่ได้ย้ายถิ่นฐาน  ยากนักที่คนจะละทิ้งโบสถ์เก่าตัวเอง   บางคนแม้จากไปไกลถึงต่างแดนก็ยังกลับไปเยี่ยมโบสถ์พ่อแม่อยู่เสมอ เพราะเป็นสมาชิกถาวร (ภาษาทางวัฒนธรรมเขาเรียกว่า สมาชิกสมบูรณ์)


ที่เป็นแบบนี้เพราะคริสเตียนส่วนใหญ่ติดระบบสมาชิก  เมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกแล้วก็จะถูกกลืน  ถูกสอนให้มีความคิด ความเชื่อในแนวคิดติดโบสถ์ไปจนชีวิตจะหาไม่   ไม่เคยมีความคิดจะออกจากโบสถ์เพื่อออกไปประกาศ ปลูกสร้างคริสตจักรใหม่ๆ เลย  แท้จริง มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรค์อยู่   แต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้เพราะจะทำให้บทความที่ยาวอยู่แล้ว ยาวออกไปมากกว่านี้

ใช่ว่าการอยู่โบสถ์แล้วจะมีความสุขนะ  บางคนอยู่ไปอยู่มา  เกิดอาการเหม็นขี้หน้าคนบางคน  ไม่ถูกใจกัน ขัดแย้งกันเรื่องผลประโยชน์ เรื่องการรับเหมาก่อสร้างงานโบสถ์  เพราะเมื่อคริสเตียนบางคนได้เป็นใหญ่ในโบสถ์ก็จะมีอำนาจ  มีระบบผลประโยชน์เกิดขึ้น ผู้นำแต่ละคน  ก็จะพยายามเอาญาติพี่น้องของตนเองมารับงานเหมาก็สร้าง ทำโนน้ทำนี่ของโบสถ์  พอไม่ได้เป็นคณะกรรมการบริหาร  มันก็ไม่ได้งาน พอไม่ได้งานก็ไม่ได้เงิน  ก็ขัดผลประโยชน์กัน  บางคนถึงกับยกพวกออกจากโบสถ์ทั้งๆ รักอาคารโบสถ์อย่างสุดใจ แต่ก็ต้องทำใจเพราะมันมีความขัดแย้ง ขมขื่นเกิดขึ้นเสียแล้ว

ทราบไหมว่า  โบสถ์หลายๆ แห่งที่แตกกระจายกันออกไป  ไม่ได้แตกกระจายออกไปเพราะพวกเขาตระหนักถึงพระมหาบัญชาของพระคริสต์ที่ให้ออกไปสร้างสาวก  ปลูกสร้างคริสตจักรใหม่ๆ หรอกนะ  อันนั้นเป็นเหตุผลรองลงไป  ที่เขาแตกกระจายกันออกไปเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย  กลายเป็นมุ้งเล็กมุ้งใหญ่ เพราะพวกเขาเกิดปัญหากัน  มีเรื่องการทุจริตทางการเงินบ้าง  เรื่องหัวหน้าใหญ่ไม่ให้ความเป็นธรรมบ้าง  เจ้าอาวาสมีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ  บอกกล่าวกันแล้วไม่ฟังก็ต้องจากกันไป   บ้างไม่ยอมมองหน้ากัน เพราะเหตุความขัดแย้ง 

เห็นไหมว่า  คริสเตียนทางศาสนานั้น  มันก็คือมนุษย์ขี้เหม็นที่ยังมีตัวตน  มีโลภ มีความขัดแย้ง  ต้องการอำนาจ   ต้องการสร้างแผ่นดิน อาณาจักรของข้า ของกลุ่มข้า ของครอบครัวอยู่มาก  ยังมีการไม่ให้อภัยกัน  การแย่งอำนาจกัน (ผู้เชื่อพระเจ้าไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกกลุ่ม ทุกโบสถ์) 

ดังนั้นถ้าใครมาหาพระเจ้า แล้วมามองดูพฤติกรรมของเศษสวะคริสเตียนพวกนี้ แล้วเข้าใจว่า พระเจ้าทำไมทำให้มีคนแบบนี้  ไม่ดีเลย  ตัดสินไปว่า คริสเตียนไม่ดีเลย  เขาคงต้องโบกมือลาพระเจ้า เพราะว่า รับไม่ได้ที่เห็นคนที่ถือพระเจ้า  สอนคนอื่นให้รักกันแล้วมาแย่งผลประโยชน์กัน  กล่าวโทษกัน  แย่งอำนาจกัน ฟ้องกันถึงโรงถึงศาลดังข่าวที่ปรากฎชัดอยู่ในขณะนี้ ที่ผู้นำองค์กรแย่งกันเป็นใหญ่  ต้องการมีอำนาจบริหารองค์กรที่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจศาสนาเกิดขึ้น

ดังนั้นพี่น้องจำเป็นต้องแยกแยะให้ดีว่า  อะไรคือกิจการพระเจ้า อะไรคือเรื่องความโลภของมนุษย์บาป   อาจารย์คนไหนเป็นของแท้  คนไหนเป็นของปลอม เป็นนักศาสนา  เป็นคนถ่ายทอดคำสอนทางศาสนา  หรือเป็นอาจารย์ที่มีพระเจ้าอยู่ข้างใน  มีองค์ผู้สำแดงฤทธิ์อยู่ด้วย   ผู้เชื่อจำเป็นต้องสังเกตให้ได้ว่าอะไรคือของแท้ อะไรคือของเทียม   โบสถ์ไหนบริหารงานเพื่อวงค์ตระกูลของใครบางคน  โบสถ์แบบไหน เป็นโบสถ์เพื่อองค์กรของกลุ่มผลประโยชน์    โบสถ์แบบไหนเพื่อพระคริสต์ 

ถ้าท่านเลือกเข้าโบสถ์ผิดที่ ท่านอาจจะได้กลายเป็นเหมือนวัวถูกมัดไว้กับเสาหลัก ที่อาจจะมีที่เดินบ้าง แต่ก็ไม่สามารถออกไปจากรัศมีตามความยาวของเชือกสนตะพายที่มัดจมูกวัวอยู่ได้หรอก   เพราะมีห่วงคล้องเชือกที่มัดคอไว้ไม่มีอิสระไปไหนไม่ได้ ต้องอยู่กันอย่างนั้นไป  หวานอมขมขมกลืน

WWWWW

มาเข้าเรื่องต่อดีกว่า  ทำไมผมจึงบอกว่า  เราต้องทำบางอย่างที่แตกต่างเพื่อจะได้สิ่งที่แตกต่าง  คืองี้ครับพี่น้อง

หลังจากที่ผมตั้งกลุ่มอธิษฐานได้ไม่นาน ก็มีคนมาร่วมเยอะ แต่เอาเข้าจริง คนที่มาร่วม มาเพราะความตื่นเต้นที่ได้เห็นการขับผี  การวางมือรักษาโรค  บ้างมีผีอยู่ในตัวไม่รู้กี่ตัว ก็มารับการบำบัดปลดปล่อย ผีก็ออกมาเยอะ

ตอนแรกพวกที่มาร่วมก็สนใจอยากจะรับใช้พระเจ้ามาก แต่พอเอาเข้าจริง การรับใช้ก็คือเรื่องของคนใช้ ที่ต้องถ่อมใจ  ต้องเรียนรู้เยอะ ต้องมีวินัยทางวิญญาณ ต้องรู้จักอดอาหารอธิษฐาน หลายคนๆ ก็ถอยไปทีละคนสองคน   จนเหลืออยู่แค่ไม่ถึงสิบ   ตอนนี้ผมก็เริ่มได้คิดว่า  คริสตจักรบ้านแบบนี้  ไม่มีอะไรน่าดึงดูดคนเลย   คนมาอยู่เห็นการขับผีก็ตื่นเต้น พอจะทำจริงก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีความเชื่อพอ ก็เลยออกไปจนเกือบหมด

ผมกับต้น(ศิษย์เอกคนหนึ่ง) ก็มาคิดว่า  เอ๊...ถ้ากลุ่มเรายังมีสภาพเป็นแบบนี้ไม่ไหวแน่  เอาไปเอามา เราจะเหลือกันแค่ไม่ถึงสิบคน แล้วเราจะมานมัสการกันไปอย่างนี้ทุกอาทิตย์แล้ว  ๑ ปีผ่านไป สองปีผ่านไป  แล้วเราจะทำอะไรให้พระเจ้าชื่นใจบ้าง  ถ้าเราไม่ทำอะไรก็คงจะเหมือนกับโบสถ์ทั่วไป ที่ตั้งมาแล้ว ห้าสิบ หกสิบปี แต่ยังมีคนไม่ถึงห้าสิบคน ยังต้องหวังพึ่งพาเงินนอก  เพื่อเลี้ยงผู้รับใช้   แล้วมันจะเจริญไปได้อย่างไร 

เอางี้ดีไหม  เราไม่ต้อง นะมัดสะกง นมัสการอะไรกันมากมายแล้ว เพราะเราก็มีวันอธิษฐานกันแล้ว  วันอาทิตย์แทนที่เราจะมาร้องเพลงนมัสการด้วยกัน ห้าคน สิบคน เราเอาเวลาไปประกาศข่าวประเสริฐดีไหม    ทีมงานก็เห็นด้วย เราจึงเริ่มออกไปแจกใบปลิวและเป็นพยาน  การทำแบบนี้ยังไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า  คริสเตียนพร้อมใจกันไม่นมัสการพระเจ้าเช้าวันอาทิตย์ แต่ทีมของเรากลับพากันออกไปเอื้อมถึงเพื่อนบ้าน ที่ยังไม่รุู้จักพระเจ้า

ผมปรากฏว่า พอออกเราออกไปประกาศเช้าอาทิตย์แรกก็ได้เรื่องเลย เราได้อธิษฐานเผื่อคนป่วย คนเจ็บ สามสี่คนในวันแรก  วันต่อๆ มาก็ได้อธิษฐานให้คนเพิ่มขึ้น คนก็เริ่มมาเปิดใจรับพระเจ้า  ผมก็ว่า เออดีแหะ แบบนี้ ดีกว่านมัสการกันทุกอาทิตย์แต่ไม่มีใครรอดเลย จะไปประกาศก็อ้างไม่มีเวลา  ก็เลยเอาเวลานมัสการไปประกาศ ก็ได้ผลดีมาก  จึงต้องทำสลับกันไปกับการประกาศ   อันนี้ก็ได้ผลดี  ตอนนี้มีพี่น้องคนใหม่ๆ ที่ได้พบพระเจ้าเพราะเราไปหาเขาถึงบ้าน

ใครเชื่อที่ไหนก็ตั้งสถานนมัสการในบ้านของเขาเลย  การทำอย่างนี้รู้สึกว่าดี  เพราะผู้เชื่อใหม่เขาก็ไม่ต้องเดินทางไกล  ไม่ต้องเสียค่าเดินทางไปโบสถ์   พออีกหน่อยเราเลี้ยงเขาให้เติบโตแล้วเขาก็จะออกไปประกาศให้เพื่อนบ้านไปเรื่อยๆ  ตั้งคริสตจักรในบ้านผู้เชื่อไปเรื่อยๆ  แล้วอะไรจะเกิดขึ้น 

พี่น้่องครับ สิ่งที่ผมนำเสนอยืดยาววันนี้ พี่น้องลองคิดดูนะครับว่า    เราจำเป็นไหมที่ต้องทำอะไรๆ ตามวัฒนธรรมอย่างเดียว โดยไม่ได้สังเกตเลยว่า มีวิธีการอื่นที่ดีกว่าการปฏิบัติแบบเดิมไหม  หากมีการปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างจะทำให้มีคนมารอดเพิ่มขึ้นไหม  หรือว่า  ผู้เชื่อพระเจ้าจำเป็นต้องทำทุกอย่างตามที่เคยทำกันมาเพื่อพันปี หรือร้อยปีก่อนในประเทศไทย 

เราต้องการอยู่กับอย่างเดิมๆ  สนุกสนานกันแบบเดิมๆ แต่ไม่ได้ทำงานให้พระเจ้า  ผู้นำความเชื่อและสมาชิกพอใจกับสภาพปัจจุบันแล้วหรือ ที่ไม่ได้นำใครมารอดเท่าที่ควร

จำเป็นไหมที่เราจะต้องนมัสการกันทุกวันอาทิตย์เวลาเช้า เปลี่ยนเวลาไปเป็นตอนบ่าย  ตอนเย็น หรือเวลาอื่นได้ไหม  เปลี่ยนเป็นวันเวลาอื่นได้ไหม  แล้วเราหาเวลาออกไปประกาศข่าวประเสริฐกันบ้างเพื่อให้พี่่น้องชาวไทยอีกมากได้ยินข่าวประเสริฐ  เพื่อให้เขาได้มีชีวิตแห่งสันติสุขอย่างที่เราได้รับ

ทราบไหมว่าคริสตจักรเริ่มแรกเขานมัสการกันตอนเย็นวันอาทิตย์ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีวันหยุดงานอย่างเป็นทางการ  จึงต้องหาเวลามาพบกันในตอนค่ำ  แล้วก็นมัสการกันแบบนั้น  สมัยนี้กลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้วที่ต้องนมัสการกันเฉพาะเช้าวันอาทิตย์เท่านั้น  แล้วยังบังอาจเรียกวันอาทิตย์ว่าวันสะบาโตอีก

ขอพระเจ้าอวยพระพระให้เติบโตขึ้นในความเชื่อนะครับ


Rice Mu

August 3, 2013

Home


ภาคเสริม เรื่องวันสะบาโต โดย ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์

bbbzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzzvvbbbbb

เรื่องยาวๆ เกี่ยวกับวันสะบาโต ถ้าทำไม่ดี จะกลายเป็นสะบ้าโตได้
วันสะบาโตกับชีวิตคริสเตียนยุคปัจจุบัน

ดร.ศิลป์ชัย  เชาว์เจริญรัตน์

ใน ชีวิตทุกวันนี้  คริสเตียนควรถือปฏิบัติพระบัญญัติเรื่องวันสะบาโตอย่างไร?    ปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือว่าถูกต้อง หรือถือว่าไม่ผิด?  ก่อนจะตอบคำถามนี้ได้เราต้องย้อนกลับไปดูที่มาของพระบัญญัติเรื่อง “สะบาโต” อีกครั้ง

พระบัญญัติข้อสี่ของพระบัญญัติสิบประการกำหนดให้ ถือวันสะบาโตเป็นวันบริสุทธิ์ที่ทุกคนในแผ่นดินอิสราเอลต้องหยุดพักจากการทำ งาน  ไม่ว่าจะเป็นตัวเอง  ลูก  ทาส  คนต่างด้าว  ไปจนถึงสัตว์ใช้งานด้วย  (อพย.20:8-11)   คำว่า “สะบาโต” แปลว่าหยุด หรือ พัก  วันสะบาโตถูกกำหนดว่าเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์ซึ่งตามที่นับกันทั่วไปก็คือ วันเสาร์   พระคัมภีร์บันทึกเหตุผลที่กำหนดเป็นวันดังกล่าวก็เนื่องจากว่าเป็นวันที่พระ เจ้าทรงหยุดจากการทรงสร้างเช่นกัน (ปฐก.2:1-3)    

อย่างไรก็ตาม ยิวนับวันไม่เหมือนกับสังคมทั่วไป  ยิวจะนับวันโดยเริ่มจากตะวันตกดินของเย็นวันศุกร์ไปจนถึงตะวันตกดินของอีก วัน   ฉะนั้นวันสะบาโตจึงเริ่มนับจากราวหกโมงเย็นวันศุกร์ไปสิ้นสุดเอาที่ราวหกโมง เย็นของวันเสาร์ด้วย  นั่นก็แปลว่า การหยุดพักงานก็ต้องหยุดพักตั้งแต่ศุกร์เย็นไปจนถึงเสาร์เย็นเช่นกัน

พระ บัญญัติของพระเจ้าได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการให้หยุดทำงานในวันสะบาโตไว้ อีกพอสมควร  ได้แก่ ต้องหยุดออกจากที่พักเดินทางไปไหนไกล (อพย.16:29)  หยุดก่อไฟเพื่อทำอาหารในที่พักอาศัย  (อพย.35:2-3)  อาหารที่จะรับประทานในวันสะบาโตต้องทำไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ “วันเตรียม” คือวันก่อนสะบาโต (อพย.16:23; มธ.27:62; มก.15:42)

นอกจากนี้พระ บัญญัติยังกำหนดให้มี “ปีสะบาโต” ด้วย ซึ่งก็มีไว้เพื่อการหยุดพักเช่นกัน พักทั้งคน  พักทั้งสัตว์ใช้งาน  และพักทั้งไร่นาด้วย  (อพย.23:10-11)   ผู้เขียนเชื่อว่าพระเจ้าทรงให้มีปีสะบาโตเพื่อเพือให้ที่ดินได้กลับสู่สมดุล  เพื่อคืนสภาพความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ


ทำไมต้องมีวันสะบาโต?  

หากพิจารณาให้ลึกลงไปว่า  พระเจ้าทรงตั้งวันสะบาโตขึ้นมาทำไม?  ในเรื่องนี้ ต้องดูในพระคัมภีร์ปฐมกาลบทที่ 2:1-3 ซึ่งใช้ถ้อยคำว่า  “… พระเจ้าจึงทรงอวยพระพรแก่วันที่เจ็ด   ทรงตั้งไว้เป็นวันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์   เพราะในวันนั้นพระองค์ทรงหยุดพักจากการงานทั้งปวงที่พระองค์ทรงกระทำในการ เนรมิตสร้าง”  ฉะนั้น จึงเชื่อว่าพระเจ้าทรงกำหนดวันสะบาโตเพื่อให้มนุษย์ระลึกถึงการที่พระเจ้า ทรงเป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่ง    

นอกจากเพื่อวัตถุประสงค์นี้แล้ว  ในธรรมเนียมของชาวยิวยังระบุวัตถุวัตถุประสงค์ของสะบาโตอีก 2 ประการคือ  เพื่อระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงไถ่เขาจากการเป็นทาสในอียิปต์

เพื่อเป็นการลิ้มรสยุคสมัยที่พระเมสสิยาห์เสด็จมา   ซึ่งชาวยิวเชื่อว่า พระเมสสิยาห์ (หรือมาซีฮา) จะเป็นกษัตริย์ในเชื้อวงศ์ของกษัตริย์ดาวิดในครั้งโบราณ  และจะเก่งกล้าสามารถมากจนทำให้ชนชาติยิวกลับรุ่งเรืองยิ่งใหญ่  มีอาณาเขตกว้างขวางเหมือนยุคกษัตริย์ดาวิดอีกครั้ง  และเป็นยุคที่โลกมีสันติภาพ

ด้วยวัตถุประสงค์ 3 ประการของสะบาโตที่ว่ามา  ทำให้การหยุดพักวันสะบาโต  ต้องไม่ใช่หยุดพักเฉยๆ  หรือหยุดพักอย่างไร้เป้าหมาย  แต่เป็นการ “หยุดพักเพื่อระลึกถึง”  สิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อมนุษย์    

นอกจากนี้  จากบริบทของสถานการณ์ที่พระเจ้าทรงประทานพระบัญญัตินี้  หลังจากที่พระองค์ทรงช่วยชาวยิวให้ออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ยาวนานถึง 400 ปี  ชีวิตทาสของพวกเขาทำงานหนัก  ถูกโบยตี  ขัดสน ไร้เสรีภาพ  และทุกข์ทรมาน    ฉะนั้นพระบัญญัติสะบาโตจึงน่าจะสะท้อนถึงพระเจตนารมณ์ของพระเจ้าคือ  พระองค์มีประประสงค์ให้มนุษย์ได้ทำงานและมีการหยุดพักจากการทำงาน  เพื่อจะได้ไม่มีใครทำงานหนักเยี่ยงทาสนั่นเอง  พูดได้อีกอย่างว่า พระเจ้าปรารถนาให้มนุษย์ได้ทำงานอย่างมีความสุข   แม้ชีวิตยังต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ  แต่ชีวิตก็ยังมีความสุขด้วย  

ชาวยิว ให้ความสำคัญกับสะบาโตมาก   ธรรมเนียมของยิวระบุถึงความเชื่อที่ว่า  พระเมสสิยาห์ (ผู้ที่ชาวยิวรอคอยมาหลายร้อยปีเพื่อมาช่วยชนชาติยิวให้รุ่งเรือง) จะมาหาก ยิวทุกคนถือวันสะบาโตอย่างถูกต้องต่อเนื่องกันสองสะบาโต[1]   และในยุคโบราณสมัยพระคัมภีร์เดิมนั้น  ใครที่ฝ่าฝืนบัญญัติวันสะบาโต จะมีโทษถึงตายด้วยการถูกหินขว้างเลยทีเดียว  

หยุดพัก หยุดทำงาน  แล้วทำอะไรกัน?

ดัง ที่กล่าวมาข้างต้นว่า   ด้วยวัตถุประสงค์ 3 ประการของสะบาโต  ทำให้การหยุดพักวันสะบาโต  ต้องไม่ใช่หยุดพักเฉยๆ  หรือหยุดพักอย่างไร้เป้าหมาย  แต่เป็นการ “หยุดพักเพื่อระลึกถึง”  สิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อมนุษย์  

แล้วเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์เหล่านี้ เขาทำกิจกรรมอะไรกันล่ะ   เรื่องนี้เราควรไปดูว่าชาวยิวทำอะไรกันในวันสะบาโต   ในธรรมเนียมของชาวยิว สิ่งที่พวกเขาทำในวันสะบาโตคือ  การกินเลื้ยง  การอ่านพระคัมภีร์  (โดยเฉพาะชาวยิวจะอ่านเบญจบรรณ   รวมทั้งหนังสืออรรถาธิบายอื่นๆ)   อธิษฐาน   ร้องเพลง (โดยเฉพาะเพลงประเภท zemirot ซึ่งเพลงที่ใช้ร้องในวันสะบาโตเป็นพิเศษ)  

ชาวยิวถือวันสะบาโตเป็น วันแห่งการฉลองรวมทั้งการอธิษฐาน   เป็นธรรมเนียมที่ต้องรับประทานอาหารเทศกาลสามมื้อระหว่างวันสะบาโต   เริ่มจากอาหารเย็นของค่ำวันศุกร์   อาหารเที่ยงวันเสาร์  และมื้อสุดท้ายปิดท้ายวันเสาร์บ่ายๆ    อาหารที่รับประทานก็จะมีลักษณะพิเศษสำหรับสะบาโตโดยเฉพาะ  

สะบาโตจะเน้นให้ใช้เวลากับครอบครัวและสร้างสัมพันธ์ในครอบครัว   แล้วยังสามารถเชิญเพื่อนบ้านมาทานอาหารสะบาโตด้วยกันที่บ้านด้วย  

ยิวหลายคนก็ไปร่วมพิธีนมัสการและอธิษฐานที่ธรรมศาลายิว (synagogue) แม้ว่าวันปกติไม่เคยไป   พิธีนมัสการจะจัดในค่ำศุกร์และเสาร์เช้า

ธรรมเนียมยิวก็สนับสนุนให้ทำสิ่งเหล่านี้ในวันสะบาโตด้วยคือ   การงีบหลับ  ไปจนถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา

และ ในวันสะบาโตก็จะงดเว้นจากการพูดเรื่องที่ไม่ดี  หรือเรื่องที่ไม่สบายใจ  รวมทั้งจะไม่พูดเรื่องเงิน เรื่องงาน หรือเรื่องธุรกิจด้วย

นอก จากนี้ ชาวยิวถือว่าต้องให้เกียรติกับวันสะบาโต โดยมีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วันสะบาโตอย่างดี  ชาวยิวจะเตรียมตัวโดยอาบน้ำ  ตัดผม  ทำความสะอาดบ้าน  ตกแต่งบ้านให้สวยงาม   การแต่งตัวก็จะใส่เสื้อผ้าสำหรับงานฉลอง  

แต่เรื่องดีก็กลายเป็นเรื่องร้ายได้

เชื่อ ไหมว่า  พระบัญญัติสะบาโตที่มุ่งให้ความสุข ก็ถูกบิดเบือนให้กลายเป็นความทุกข์เสียได้   สาเหตุเกิดมาจากชาวยิวตั้งแต่ยุคโบราณได้มีตีความพระบัญญัติในพระคัมภีร์ให้ มีรายละเอียดเพิ่มเติมมากขึ้น  บัญญัติเพิ่มเติมเหล่านี้อยู่ในคัมภีร์ของศาสนายูดายที่ชื่อ “มิชน่า” (Mishnar)  การเพิ่มเติมที่ว่านี้ส่งผลให้เกิดข้อห้ามวันสะบาโตเต็มไปหมด  จนบัญญัติเรื่องวันสะบาโตที่น่าจะทำให้ผู้คนรู้สึกได้พักผ่อน  กลับกลายเป็นปัญหาชีวิตที่ไม่สะดวก และยากลำบากขึ้นมาแทน

ในที่สุด ธรรมเนียมสะบาโตของยิวก็เลยกำหนดกิจกรรม 39 ชนิดที่ถือว่า “ห้ามทำ” ในสะบาโต เรียกว่าเป็น “เมลาคา” (melachah) ซึ่งได้แก่  ไถพรวนดิน,  หว่าน,  เก็บเกี่ยว, มัดฟ่อน, นวดข้าว,  ฟัดแกลบ, เลือก, บด โม่หรือฝน, ร่อน, นวดหรือปั้น, อบ, ตัดขนแกะ, ล้างขนแกะ,  ตีขน, ย้อมสี, ปั่นด้าย, ทอ,  ขมวดหรือทำห่วงสองห่วงขึ้น, ทอด้ายสองเส้นขึ้นไป, แยกด้ายสองเส้นขึ้นไป,  ผูกปม, แก้ปม, เย็บตะเข็บ,  ฉีก, วางกับดักสัตว์,  ฆ่าสัตว์,  ลอกหนักหรือแล่เนื้อ, ฟอกหนัง,  เก็บเศษ,  ลบรอย, ตกแต่ง, เขียนตัวหนังสือสองตัวขึ้นไป,  ลบตัวหนังสือสองตัวขึ้นไป,  ก่อสร้าง, ทุบทำลาย,  ดับไฟ,  จุดไฟ,  ยกของหรือย้ายของระหว่างที่ส่วนตัวกับที่สาธารณะ  หรือยกย้ายของระยะเกิน 2 วา  

กฎบัญญัติที่ว่ามานี้ยังประยุกต์ไปสู่กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อื่นๆ ด้วย เช่น ในยุคสมัยใหม่ก็มีการห้ามขับรถ  เพราะการขับรถเกี่ยวข้องกับการจุดไฟ  และการเคลื่อนย้ายสิ่งของ   เรื่องนี้ก็คงรวมไปถึงการเดินทางด้วยเครื่องบิน  เรือ  ไปจนถึงการติดเครื่องจักรเครื่องยนต์ทุกชนิดด้วย

           เรื่องการเดินทางก็เป็นปัญหาเช่นกัน  ธรรมบัญญัติของยิวจะห้ามเดินในวันสะบาโตไกลเกินราวครึ่งไมล์[2]   (หรืออย่างน้อยก็ต้องไม่เดินออกนอกเขตเมืองไกลกว่าครึ่งไมล์)  ฉะนั้นคนยิวที่จะไปธรรมศาลาในวันสะบาโตต้องหาที่พักให้อยู่ไม่ไกลจากธรรม ศาลา   ให้อยู่ในระยะที่เดินได้  เพราะขับรถก็ไม่ได้ด้วย

หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเคยได้ไปอิสราเอล  ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องสะบาโตกับชีวิตของคนยิวในสมัยปัจจุบันดังนี้ว่า

“...ใน วันสะบาโตนี้พระเจ้าได้ห้ามไว้เป็นเด็ดขาดว่า มิให้ยิวทำงาน หรือแม้แต่จะใช้ให้คนหรือสัตว์ทำงานก็ไม่ได้  ด้วยเหตุนี้ปัญหาต่างๆ ก็เกิดขึ้นในอิสราเอล  ซึ่งเป็นเมืองของพระเจ้าในทุกวันสะบาโต  ฝรั่งนั้นหยุดงานในวันอาทิตย์ คนไทยเราก็หยุดงานวันอาทิตย์ตามฝรั่งไป  แต่ในวันอาทิตย์ทั้งในเมืองฝรั่งและในเมืองไทยนั้น ชีวิตมิได้หยุดลงด้วย 
ส่วนในอิสราเอลนั้นชีวิตทำท่าว่าจะหยุดลงจริงๆ   ขึ้นต้นด้วยการคมนาคมทุกชนิดต้องหยุดหมด   ใครขืนเดินรถเมล์ในวันนั้นจะต้องถูกขว้างด้วยก้อนอิฐก้อนหินจนต้องหยุดไป เอง...รถแท็กซี่จะเดินได้ก็เฉพาะรถที่เป็นของส่วนตัวของคนขับ เพราะคนขับนั้นย่อมจะเสี่ยงบาปเสี่ยงกรรมเอาเอง  หากเป็นของบริษัทก็จะต้องถูกขว้าง เพราะบริษัทใช้คนอื่นคือคนขับแท็กซี่ให้มาทำบาป 

ตามโรงแรมต่างๆ ในอิสราเอลนั้นในวันสะบาโตจะไม่มีอาหารร้อนๆ กิน  เพราะการก่อไฟหุงข้าวในวันสะบาโตนั้นท่านได้ชี้ขาดไว้นานแล้วว่าเป็นการทำ งาน  ใครก่อไฟหุงข้าวก็ละเมิดวันสะบาโตและเป็นบาป  คนที่ไปอยู่โรงแรมทั้งที่เป็นยิวและไม่เป็นยิวต้องกินอาหารเย็นตั้งแต่ค่ำ ศุกร์ไปจนถึงเย็นวันเสาร์  เพราะอาหารเย็นนั้นตระเตรียมไว้ล่วงหน้าได้ตั้งแต่ตอนกลางวันวันศุกร์  

การ ก่อไฟนั้น  บางคนที่เคร่งหน่อยถือว่าคลุมไปถึงการเปิดสวิตช์ไฟฟ้าด้วย  ปัญหาก็เกิดขึ้นว่าในวันศุกร์นั้นจะเปิดไฟกันอย่างไร  ใครที่ไม่เสียดมเสียดายค่าไฟจะเปิดทิ้งไว้ตั้งแต่ก่อนพลบค่ำวันศุกร์ก็ได้  แล้วก็ไปปิดเอาในเช้าวันเสาร์  พอค่ำวันเสาร์ก็เปิดใช้ได้ไม่บาป   แต่การกระทำเช่นนี้ย่อมหมดเปลืองค่าไฟโดยใช่เหตุ   เพื่อแก้ปัญหานี้จึงได้มีผู้คิดเครื่องมือเปิดปิดไฟอัตโนมัติขึ้น  เอาเครื่องอัตโนมัตินี้ติดไว้กับสวิตช์ไฟ  แล้วตั้งเข็มไว้ให้เปิดตั้งแต่กี่โมงก็ตามใจ  พอถึงเวลาเครื่องก็จะเปิดไฟตามนั้น  เป็นอันว่ารอดบาปไปได้" [3]

ความ ยากลำบากเหล่านี้เอง ที่ในที่สุดเมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จมาพระองค์ได้กำหนดมาตรฐานของสะบาโต รวมทั้งธรรมบัญญัติอื่นๆ  ใหม่  โดยพระองค์ตรัสว่า “บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก   จงมาหาเรา   และเราจะให้ท่านทั้งหลาย   หายเหนื่อยเป็นสุข  จงเอาแอกของเราแบกไว้   แล้วเรียนจากเรา   เพราะว่าเราสุภาพและใจอ่อนน้อม   และจิตใจท่านทั้งหลายจะได้พัก ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ   และภาระของเราก็เบา” (มธ.11:28-30)  

พระเยซูเองแม้ว่าจะทรงยอมรับ วันสะบาโต  แต่ก็ทรงถือว่าพระองค์เป็น “นายเหนือวันสะบาโต”  (มธ.12:8; มก.2:28; ลก.6:5)  แต่ก็ทรงถือพระบัญญัติเรื่องวันสะบาโตตามเจตนารมณ์ของพระเจ้าจริงๆ   ดังที่พระองค์ตรัสว่า “วันสะบาโตมีไว้เพื่อมนุษย์  มิใช่มนุษย์มีไว้เพื่อวันสะบาโต”  (มก.2:27)  หรือถ้าให้แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็ต้องแปลว่า พระเจ้าทรงตั้งวันสะบาโตไว้เพื่อช่วยมนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี  ไม่ใช่ทรงตั้งวันสะบาโตขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์ต้องมาถือรักษาให้เหนื่อยยาก


การถือวันสะบาโตกับคริสเตียนยุคปัจจุบัน

คริสเตียน ในยุคแรกๆ ก็ถือสะบาโตเป็นวันเสาร์เช่นเดียวกับชาวยิว เนื่องจากคริสเตียนในยุคแรกก็เป็นชาวยิวด้วย  แต่ขณะเดียวกันในวันอาทิตย์พวกเขาก็รวมตัวกันตามบ้านของกันและกันเพื่อร่วม กันระลึกถึงพระเยซูคริสต์และทำพิธีมหาสนิทตามที่พระองค์ทรงสั่งไว้  โดยถือว่าวันอาทิตย์สำคัญของพระเยซูคริสต์ เพราะเป็นวันที่พระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์  (พระคัมภีร์ใช้คำว่า “รุ่งเช้าวันต้นสัปดาห์” “เช้ามืดวันต้นสัปดาห์” มธ.28:1; มก.16.2, 9; ลก.24.1)

  และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับคริสเตียน เพราะการฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ เป็นการพิสูจน์ว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า  ไม่ใช่คนธรรมดา และการไถ่บาปของพระองค์ก็เป็นเรื่องจริง  (1คร.15.3-4)  ท่านเปาโลกล่าวถึงการรวมตัวกันถวายทรัพย์ของคริสเตียนในวันอาทิตย์ หรือ “วันต้นสัปดาห์” เช่นกัน (1คร.16:2)

แต่กว่าที่คริสเตียนจะเปลี่ยน มาถือสะบาโตเป็นวันอาทิตย์แทนวันเสาร์อย่างสมบูรณ์ก็ล่วงเลยมาถึงราวปลาย ศตวรรษที่หนึ่งหรือต้นศตวรรษที่สอง  แต่หลักฐานบางชิ้นก็ชี้ว่าเป็นศตวรรษที่สี่  นอกจากนี้บางกลุ่มก็ยึดถือทั้งสองวันเลย  

นอกจากเรื่องของการ เปลี่ยนจากวันเสาร์มาเป็นวันอาทิตย์แล้ว  เรื่องของสะบาโตก็ยังมีคำถามตามมาหลายอย่างสำหรับคริสเตียนในสมัยปัจจุบัน  ได้แก่

เรายังจำเป็นต้องรักษาพระบัญญัติสะบาโตเคร่งครัดเพียงใด  ต้องเคร่งครัดแบบชาวยิวหรือไม่?

ใช้วันอื่นหยุดพักและนมัสการแทนวันอาทิตย์ได้ไหม?

คนที่อยู่ในงานอาชีพหลายอย่างที่จำเป็นต้องทำในวันอาทิตย์และไม่สามารถหยุดทุกวันอาทิตย์ได้  ควรลาออกไปหางานใหม่หรือไม่?

อาชีพชนิดที่จำเป็นต้องมีแม้ในยามที่คนอื่นหยุด  ควรยกเลิกให้หมดด้วยไหม?

จำเป็นต้องหยุดเต็มวันไหม?  ครึ่งวันได้ไหม?

ไปเดินเที่ยว  เล่นกีฬา  หรือมีการละเล่นต่างๆ ในวันอาทิตย์ได้ไหม?

และอื่นๆ  



คริสเตียน โปรเตสแต๊นท์ในปัจจุบันมีแนวคิดเกี่ยวกับวันสะบาโตเป็น 3 ทัศนะ ทัศนะแรก ยึดถือวันเสาร์เป็นวันสะบาโตตามพระบัญญัติเหมือนเดิม    ทัศนะที่สองยึดถือวันอาทิตย์เป็นวันสะบาโตแทน   ทัศนะที่สามไม่ยึถถือพระบัญญัติสะบาโตเลย  เหตุผลของทัศนะที่หนึ่งและสองได้กล่าวถึงไปแล้ว  แต่ทัศนะที่สามมีเหตุผลว่า พระเยซูได้ทรงยกเลิกพระบัญญัติเรื่องวันสะบาโตไปแล้ว เช่นเดียวกับพระบัญญัติด้านการถวายเครื่องเผาบูชา  (มีการโยงพระบัญญัติวันสะบาโตว่าเกี่ยวข้องกับการถวายเครื่องเผาบูชาและวัน เทศกาล  ดู  กดว.28-29)  

แต่ยังคงยึดถือว่าคริสเตียนต้องมีการหยุดพักและนมัสการพระเจ้า  เพียงแต่จะใช้วันเวลาใดก็ได้  และยังถืออีกว่า ท่านเปาโลกล่าวว่า พระเยซูทรงฉีกพระบัญญัติที่ผูกมัดเราแล้วที่กางเขน   ฉะนั้นอย่าให้ใครมาพิพากษาเราโดยใช้เรื่องการกินดื่ม  การถือเทศกาล หรือการถือสะบาโตมาเป็นเหตุ  สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของพระคริสต์ซึ่งจะทรงมาทำให้สิ่งเหล่านี้สมบูรณ์ ในภายหลัง  (คส.2:14-17)

กลุ่มเซเว่นเดย์แอดเวนทิสต์ ยึดถือทัศนะที่หนึ่ง  คาทอลิกและกลุ่มคริสเตียนกระแสหลักยึดถือทัศนะที่สอง   และคริสเตียนอีกจำนวนมากก็ยึดทัศนะที่สาม

ในเรื่องนี้คง ไม่ฟันธงลงไปว่าทัศนะใดถูกหรือผิด   สิ่งที่สำคัญกว่าคือ เราต้องตระหนักถึงวัตถุประสงค์ที่พระเจ้าทรงกำหนดให้มีวันสะบาโตขึ้นมา   นั่นคือ พระองค์ประสงค์ให้มนุษย์เรามีการ “หยุดพักเพื่อระลึกถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อมนุษย์”  

คริสเตียนยังควรมีท่าทีต่อสะบาโต ในลักษณะที่ว่า..

·     เราต้องให้ความสำคัญกับการหยุดพักและนมัสการ  ... เพราะพระเจ้าทรงสั่งและตั้งเป็นพระบัญญัติ  

·     เราต้องจัดเวลาให้กับการหยุดพักและนมัสการอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ... เพราะพระเจ้าทรงกำหนดให้มีความถี่ ทุกสัปดาห์    และ

·     เราต้องจัดรูปแบบชีวิตให้สอดคล้องกับการหยุดพักและนมัสการ ... เพราะพระเจ้าทรงกำหนดรายละเอียดบางประการที่แสดงว่าพระองค์ประสงค์ให้เราได้ พักและนมัสการจริงๆ



เรื่องนี้อาจยากยิ่งขึ้นสำหรับคนในยุค ปัจจุบัน ซึ่งเป็นโลกยุคอุตสาหกรรม  ที่คนทำงานหนัก  ทำงานมาก   หลายคนต้องทำงานในวันเสาร์-อาทิตย์   หรือไม่มีวันหยุดที่แน่นอน    ทั้งที่ตนเองก็ไม่ได้อยากเป็นอย่างนี้ แต่สถานการณ์ของอาชีพการงานในปัจจุบันก็บีบบังคับ   แต่ถึงกระนั้นก็ยังควรพยายามหาช่องทางที่จะ “หยุดพักและนมัสการ” ให้ได้

เรา อาจต้องพยายามทำงานให้เสร็จในวันอื่นๆ  ลองหาวิธีบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของเราแต่ละคน    และวันหยุดพักเพื่อนมัสการของเรานั้น  ควรเป็นเวลาที่ให้ตนเองได้ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อย   ได้นมัสการพระเจ้า และได้ใช้เวลากับครอบครัวจริงๆ   พระเจ้าไม่ปรารถนาให้เราทำงานจนเป็นทาสของงาน ในพระคัมภีร์ได้ให้ภาพแก่เราว่า  พระเจ้าให้เราทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ  และดูแลสร้างสรรค์โลก  ขณะเดียวกันงานก็สามารถพัฒนาตัวมนุษย์และให้ความรื่นรมย์แก่มนุษย์ด้วย

หรืออาจลองพิจารณาที่จะไปนมัสการที่คริสตจักรที่อยู่ใกล้บ้าน  เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้พลังงานและเวลาในการเดินทางมากเกินไป  

นอก จากนี้คริสตจักรในปัจจุบันก็ควรหาทางช่วยคริสตสมาชิกให้ถือสะบาโตง่ายขึ้น ด้วย  เช่น  คริสตจักรควรจัดนมัสการในวันและเวลาอื่นๆ ด้วย  ไม่ใช่จัดเฉพาะวันอาทิตย์เช้าเท่านั้น  

หรือคริสตจักรไม่ควรจัด กำหนดการหรือกิจกรรม ให้สมาชิกต้องใช้เวลาที่คริสตจักรในวันอาทิตย์จนกระทั่งไม่เหลือเวลาสำหรับ การพักผ่อน หรือไม่มีเวลาให้ครอบครัวเลย    หรือหากต้องจัดวันอาทิตย์ก็ควรใช้รูปแบบที่สมาชิกหรือผู้สนใจสามารถรู้สึก ว่าเป็นการพักผ่อนและได้ใช้เวลากับครอบครัวไปด้วย  

เคยมีบางคนบอก ผมว่า สำหรับเขาแล้ววัน “สะบาโต” กลายเป็นวัน “สะบ้าโต” ไปแล้ว  เพราะวันอาทิตย์ที่พระเจ้าให้เขาหยุดพัก กลายเป็นวันที่เขา “เหนื่อยที่สุด”


บรรณานุกรม

ศิลป์ชัย  เชาว์เจริญรัตน์.  หลักจริยธรรมคริสเตียน.  กรุงเทพ : ซีอีดี,  2008.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

You may post your comments here.
หากท่านมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเสนอแนะเชิญออกความเห็นได้
(กรุณาใช้ข้อความสุภาพ และสร้างสรรค์)